สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการได้รับสวัสดิการสังคมของมารดาวัยรุ่น : กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • นายพัชรากร สุขสำราญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.ดร.กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รศ.ดร.นพ.พิทยา จารุพูนผล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.ดร.วิริณธิ์ กิตติพิชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สวัสดิการสังคม, บริการทางสังคม, มารดาวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับสวัสดิการสังคมของมารดาวัยรุ ่น จังหวัดนครนายก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่น อายุ 15–19 ปีขณะที่คลอดบุตรและปัจจุบันมีบุตรอายุไม่เกิน 3 ปีจำนวน 240 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการทดสอบไคสแควร์ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับบริการคุมกำเนิดหลังคลอดร้อยละ 81.3 ได้รับบริการดูแลหลังคลอดของมารดาและทารกร้อยละ 79.6 ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรจากภาครัฐร้อยละ 79.6 และได้รับการศึกษาต่อหลังคลอดร้อยละ 34.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับสวัสดิการสังคม ได้แก ่ อายุของมารดาวัยรุ ่น สถานภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ในครอบครัว จำนวนบุตรที่มีชีวิต การรับรู้ประโยชน์ของสวัสดิการสังคม และการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว หน่วยงานด้านสาธารณสุข ควรจัดบริการคุมกำเนิดทันทีหลังคลอดในมารดาวัยรุ่นที่อยู่กับสามีและมีบุตรต่ำกว่า 1 ปี จากการสัมภาษณ์ความต้องการสวัสดิการสังคมโดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มศึกษาต้องการให้หน่วยงานด้านการศึกษา เปิดโอกาสให้ตนสามารถหยุดพักการศึกษาและรักษาสถานภาพการศึกษาได้เพื่อให้มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และหน่วยงานด้านสวัสดิการสังคม ควรสนับสนุนนโยบายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยเพิ่มเป็นจำนวน 1,000 บาท ต่อเดือน ในเด็กแรกเกิดทุกคน นอกจากนี้ควรส่งเสริมการเข้าถึงบริการเกี่ยวกับอาชีพ และการมีรายได้ในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับบริการช่วยเหลือในกรณีที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูบุตร และบริการจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)