การประยุกต์ใช้สื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพ ร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครอุดรธาน

ผู้แต่ง

  • นายภีมภูริ ปัทมธรรมกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผศ.ดร.ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อ.ดร.สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สุขาภิบาลอาหาร, แรงสนับสนุนทางสังคม, คุณภาพร้านจำหน่ายอาหาร, ผู้สัมผัสอาหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้สื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครอุดรธานีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สัมผัสอาหารของร้านจำหน่ายอาหารเขตเทศบาลนครอุดรธานีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจำแนกตามนิยามประเภทของร้านอาหารได้ 220 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 110 คน กลุ่มทดลองได้รับสื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร ่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นเวลา 12 สัปดาห์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้แบบสอบถามการปฏิบัติตัวและความพึงพอใจ และแบบประเมินมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารตามข้อกําหนดด้านสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย Wilcoxon Signed Rank Test และ Mann-Whitney U test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานของความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร (18.20+1.269) สูงกว่าก่อนทดลอง (16.09+2.433) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (15.74+1.994) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวด้านสุขาภิบาลอาหาร (43.47+2.175) สูงกว่าก่อนทดลอง (40.28+2.974) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (39.28+3.116) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิถิติ(p<0.001) นอกจากนี้ ภายหลังการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มทดลองมีร้านจำหน่ายอาหารที่ผ่านมาตรฐานตามข้อกําหนดด้านสุขาภิบาลอาหารทางด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ และด้านสุขาภิบาลอาหาร (CFGT) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 92.73 77.29 และ 70.91 ตามลำดับ รวมทั้งความพึงพอใจทุกด้านต่อสื่ออบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์อยู่ในระดับมาก (2.56+0.495) สรุปได้ว่าการอบรมสุขาภิบาลอาหารแบบออนไลน์ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาความรู้การปฏิบัติตัว และคุณภาพร้านจำหน่ายอาหารให้เพิ่มสูงขึ้นได้และควรใช้ในการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติตัวด้านสุขาภิบาลอาหารที่เป็นรูปธรรมให้แก่ผู้สัมผัสอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในบริบทที่คล้ายคลึงกันต่อไป

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)