การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ จันทนจุลกะ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
  • สมชาย ตู้แก้ว สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
  • ประโชติ กราบกราน สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
  • ทัยธัช หิรัญเรือง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย
  • ปาณิสา ศรีดโรมนต์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย

คำสำคัญ:

มูลฝอยติดเชื้อ, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข, กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ, โรคโควิด 19, อัตราเกิดมูลฝอยติดเชื้อ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้ใช้มาตรการทางกฎหมายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 และจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่ทำให้เกิดมูลฝอยติดเชื้อปริมาณมาก การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทย กฎหมาย ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และนำมาจัดทำข้อเสนอต่อกรมอนามัย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสาธารณสุข ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข เพื่อปรับปรุงกฎหมายและการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและวิธีการประชุมปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ 4 ด้าน และผู้รับผิดชอบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับท้องถิ่นและจังหวัดรวม 7 ท่าน ผลการศึกษา แหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 มี 3 แหล่ง คือ สถานพยาบาลตาม พรบ.สถานพยาบาล จำนวน 41,786 แห่ง (เป็นสถานพยาบาลขนาดใหญ่3.5% และขนาดเล็ก 96.5%) สถานพยาบาลสัตว์3,224 แห่ง ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย 816 แห่ง ในการปฏิบัติตามกฎกระทรวงนั้น สถานบริการขนาดเล็กมีข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกับสถานบริการขนาดใหญ่และเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด 19 ได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งประเภทและจำนวนแหล่งกำเนิด รวมทั้งปริมาณมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีอัตราการเกิดที่แตกต่างกัน จากการรักษาพยาบาล0.38-1.40 กก./เตียง/วัน ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 เพิ่มเป็น 2.85-7.5กก./เตียง/วัน และยังแหล่งกำเนิดอื่นอีก เช่น รพ.สนาม 1.50-1.82 กก./คน/วัน สถานที่กักกัน/แยกสังเกตอาการ 1.32 กก./คน/วัน การตรวจหาเชื้อไวรัส(วิธีRT-PCR)0.05 กก./ตย.จากการฉีดวัคซีน 0.015 กก./โดสและยังมีมูลฝอยจากชุดตรวจวัด ATK อีกอย่างน้อย 8.5 ล้านชุด การระบาดช่วงล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลฝอยเข้าสู่ระบบกำจัด รวม 14 แห่ง เป็นปริมาณสูงถึง 13,297 ตัน มากเกินศักยภาพของระบบกำจัดที่รองรับได้(8,340 ตัน/เดือน) และยังมีมูลฝอยที่ตกค้างที่แหล่งกำเนิดอีกจำนวนหนึ่ง กฎหมายไทย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางขององค์การอนามัยโลก แต่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 มีแนวทางปฏิบัติขององค์กรต่างๆ และประสบการณ์จากประเทศตะวันตกและตะวันออก พบว่าแนวทางของ WHO UNEP CDC OSHA สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ระบุว่าสามารถใช้กระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่มีอยู ่เดิมได้แต ่การจัดการของจีนและเกาหลีใต้ ให้มีการจัดการเป็นพิเศษโดยเก็บขนไปกำจัดภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่กำจัดด้วยการใช้เตาเผา และเพิ่มจำนวนเตาเผาแบบเคลื่อนที่ และใช้วิธีการกำจัดเชื้อเบื้องต้น เช ่น ใช้ออโตเคลฟ การฉายรังสีเพื่อทำลายเชื้อเสริมด้วย ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มี2 ด้าน คือ (1) ด้านการใช้มาตรการทางกฎหมาย เสนอให้มีกำหนดขอบเขตของมูลฝอยติดเชื้อให้ชัดเจนขึ้น (ปรับนิยาม เพิ่มแหล่งกำเนิดที่สอดคล้องกับสถานการณ์) ปรับมาตรการ โดยแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่ต้องจัดการอย่างเคร่งครัด และปรับมาตรการของสถานพยาบาลขนาดเล็กบางขั้นตอน สำหรับพื้นที่ห่างไกล/ขนส่งลำบากให้ทำลายเชื้อที่แหล่งกำเนิด เพิ่มการคุ้มครองสุขภาพคนทำงาน (เช่น ฝึกอบรมทุกปีPPE ให้วัคซีน) ขยายอายุใบอนุญาตการเก็บขนและกำจัด (2) การบริหารจัดการ เสนอให้มีกลไกกลางในการจัดการในระดับประเทศ เพิ่มความเข้มแข็งในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ระดับจังหวัด โดยให้อบจ. มีบทบาทหลักในการสนับสนุนและกำกับดูแล ร่วมกับคณะกรรมการ/องค์กร/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสริมความเข้มแข็งกลไกของ อปท. ส่วนมาตรการในระยะยาวเสนอใช้หลักการใช้ประโยชน์จากมูลฝอย เช่น เผาเพื่อนำพลังงานไปใช้ประโยชน์และมีข้อเสนอในการศึกษาวิจัยอีกหลายด้าน เช่น การจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามความเสี่ยง วิธีการกำจัดมูลฝอยที่เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดขนาดเล็กหรือพื้นที่ห่างไกล

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)