การพัฒนาระบบฐานข้อมูลร่วมด้านสุขภาพนักเรียน

ผู้แต่ง

  • วัลนิภา ชัณยะมาตร์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • อัญชุลี อ่อนศรี สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • อรอุมา โภคสมบัติ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • ฟารีดา เม๊าะสนิ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
  • เนติ์ ภู่ประสม สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ระบบฐานข้อมูลร่วม, ฐานข้อมูลเด็กวัยเรียนโรงเรียนและนักเรียน, งานอนามัยโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ปัญหาข้อมูลด้านสุขภาพนักเรียนเดิมในระบบ Health Data Center ไม่สามารถตรวจสอบ ความถูกต้อง และความครอบคลุมของข้อมูลนักเรียนอายุ 6-14 ปีได้ อีกทั้งไม่สามารถดูรายงานข้อมูลรายโรงเรียน ชั้นเรียน ปีการศึกษา สังกัด มีความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล ขาดความเชื่อมโยงข้อมูลประเด็นสุขภาพไม่ครบถ้วน และข้อมูลไม่ตรงกัน ดังนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการให้เกิดระบบฐานข้อมูลร่วมด้านสุขภาพนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้มีระบบข้อมูลสุขภาพเด็กวัยเรียนสำหรับการเฝ้าระวัง ติดตามและประเมินผล ลดความซํ้าซ้อนของการบันทึกข้อมูล และมีสถานการณ์สุขภาพเด็กวัยเรียนระดับประเทศ และสร้างความร่วมมือการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเด็กวัยเรียนให้สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากเจตนาร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข ทำใหเ้ กิดการแลกเปลี่ยนขอ้ มูล นำไปสูก่ ารเชื่อมโยงขอ้ มูลระหวา่ งสถานศึกษาตามงานอนามัยโรงเรียนกับหน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อการคืนข้อมูลกลุ่มเป้าหมายให้กับหน่วยงานบริการสาธารณสุขในระดับพื้นที่ เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว 47,944 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 89.92 อีกทั้งได้พัฒนาหน้ารายงานข้อมูลโรงเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 5 รายงาน และข้อมูลงานอนามัยโรงเรียน รวมจำนวน 6 เรื่อง 31 รายงาน ตลอดจนการคืนข้อมูลสุขภาพให้กับกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 5 เรื่อง 28 รายงาน และหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่จำนวน 6 เรื่อง 31 รายงาน เพื่อได้ทราบปัญหาสุขภาพของนักเรียน สามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ตรงตามสถานการณ์จริงอย่างเป็นระบบ มุ่งสู่นักเรียนได้รับการบริการด้านสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ครอบคลุม ทั่วถึง รวมถึงพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้นักเรียนใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 เติบโตสู่วัยทำงานที่มีคุณภาพในอนาคตเพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไป

ไฟล์เพิ่มเติม

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Review Article (บทความปริทัศน์)