สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชาชนไทย จากการเข้าร่วมโครงการก้าวท้าใจ Season 1

ผู้แต่ง

  • ชลพันธ์ ปิยถาวรอนันต์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • วสันต์ อุนานันท์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, ออกกำลังกาย, ก้าวท้าใจ, ดิจิทัล, สถานการณ์

บทคัดย่อ

กิจกรรมทางกายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมอนามัยได้ดำเนินโครงการก้าวท้าใจ ด้วยการเก็บข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายผ่านระบบดิจิตอล จึงได้ทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสถานการณ์การออกกำลังกายของประชาชนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ในระบบฐานข้อมูลก้าวท้าใจ season 1 และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2563 มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 480,115 คน เป็นสมาชิกจาก 77 จังหวัด โดยนำข้อมูลทุติยภูมิของโครงการฯ มาคัดเลือกผู้สมัครที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและมีการส่งผลอย่างน้อย 1 ครั้งจากทั้งฐานข้อมูล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53.7 ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด มาวิเคราะห์องค์ประกอบของผู้ส่งผลตามประเภทผู้ส่ง เพศ กลุ่มอายุ และภาวะโภชนาการ ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข ร้อยละ 31.9 อสม. ร้อยละ 51.3 และประชาชนทั่วไปร้อยละ 16.8 โดยเป็นเพศหญิงร้อยละ 80.5 ช่วงอายุที่มีสัดส่วนสูงสุดได้แก่ อายุ 45-59 ปี ร้อยละ 45.9 อายุ 31-44 ปี ร้อยละ 31.7 โดยเป็นผู้ที่มีกาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 35.8 อ้วนระดับที่ 1 ร้อยละ 28.6 ท้วม ร้อยละ 20.1 อ้วนระดับที่ 2 ร้อยละ 11.4 และภาวะโภชนาการตํ่ากว่าเกณฑ์ ร้อยละ 4.0 สัดส่วนการส่งผลในแต่ละกลุ่มอยู่ระหว่างร้อยละ 40-60 ซึ่งตํ่าสุดในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 43.6 อสม. ร้อยละ 45.0 และอ้วนระดับที่ 2 ร้อยละ 48.7 และมีระยะทางสะสมทั้งหมด 20,494,716.27 กิโลเมตร คิดเป็นระยะทางสะสมเฉลี่ย 80.7 กิโลเมตรต่อคน (จากผู้เข้าร่วมที่สะสมระยะทางอย่างน้อย 1 ครั้ง 254,063 คน) เฉลี่ยวันละ 1.345 กิโลเมตรต่อคนต่อวัน คิดเป็น 1,764 ก้าวต่อคนต่อวัน โดยการดำเนินงานใน ก้าวท้าใจ season 1 ยังพบอุปสรรคด้านระบบดิจิทัล ขาดความพร้อมของประชาชน ด้านอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การสื่อสารให้ผู้ใช้งานเข้าใจด้วยภาพกราฟิกต่าง ๆ ภายในระบบ ซึ่งถูกรวบรวมเป็นข้อมูลสำหรับนำไปใช้เป็นประเด็นในการปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)