ปัจจัยพยากรณ์การลดนํ้าหนักสำเร็จกลุ่มผู้ป่วยโรคอ้วน คลินิกเฉพาะทางลดนํ้าหนักในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพร เตียวศิริมงคล กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โรคอ้วน, ลดนํ้าหนัก, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การลดนํ้าหนักสำเร็จมากกว่าร้อยละ 5 ทำให้ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคอ้วนลดลง ปัจจัยการลดนํ้าหนักสำเร็จในภาวะอ้วนวิกฤติด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ทราบแน่ชัด การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพยากรณ์ในรูปแบบสังเกตแบบยอ้ นหลัง ในกลุม่ ผูป้ ว่ ยโรคอว้ นที่มีอายุมากกวา่ 18 ป ี ซึ่งเขา้ มารับบริการในคลินิกโรคอว้ น ระหวา่ ง ต.ค. 2557-ก.ย. 2562 รพ.มหาราชนครราชสีมา เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน เก็บข้อมูลพื้นฐาน ดัชนีมวลกาย มวลไขมัน มวลกายไม่รวมไขมัน โรคร่วม ประวัติการนอน รพ. และประเมินความเครียดด้วยแบบประเมิน ST5 ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ รูปแบบการรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกาย การติดตามนํ้าหนักตนเอง และการนอนหลับ แบ่งกลุ่มเป็นผู้ป่วยที่ลดนํ้าหนักสำเร็จ คือกลุ่มที่ลดนํ้าหนักได้มากกว่าร้อยละ 5 และสามารถคงนํ้าหนักได้ 1 ปีหลังเข้าคลินิก ผลการศึกษา ผู้ป่วยทั้งหมด 249 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ลดนํ้าหนักสำเร็จ จำนวน 165 ราย และกลุ่มที่ลดนํ้าหนักไม่สำเร็จ จำนวน 84 ราย ข้อมูลแบบต่อเนื่องวิเคราะห์ด้วย t-test แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงลำดับวิเคราะห์ด้วย Fisher’s exact test ปัจจัยพยากรณ์วิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติคแบบขั้นตอนโดยวิธีลดตัวแปรและค่านัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการลดนํ้าหนักสำเร็จ ได้แก่ ความเครียดปานกลาง (aOR 11.78; 95%CI 3.24-42.82) การติดตามนํ้าหนักตนเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (aOR 5.16; 95% CI 1.22-21.87) ช่วงอายุ 30-59 ปี (aOR 5.13; 95% CI 2.09-12.58) การจำกัดการทานขนมขบเคี้ยว (aOR 3.74; 95% CI 1.71-8.17) การทานอาหารเช้า (aOR 3.24; 95% CI 1.03-10.18) และโรคหยุดหายใจขณะหลับ (aOR 2.28; 95% CI 1.06- 4.90) โดยปัจจัยทั้งหมดพยากรณ์ โอกาสลดนํ้าหนักสำเร็จ พื้นที่ใต้โค้ง (auROC) เท่ากับ 0.84 การลดนํ้าหนักให้สำเร็จ ควรมุ่งเน้นปรับระบบบริการให้มีการประเมินและจัดการความเครียด การคัดกรองโรคหยุดหายใจขณะหลับ ผู้ป่วยกลุ่มวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวควรพัฒนารูปแบบการลดนํ้าหนักให้เหมาะสมกับช่วงวัย การแนะนำให้ติดตามนํ้าหนักตนเองสมํ่าเสมอ ลดการทานขนมขบเคี้ยวและควรทานอาหารมื้อเช้า

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)