การเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ธัชณัท พันตรา สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
  • กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
  • ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

Pregnancy surveillance, teenage pregnancy

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ ความชุกการหยุดเรียน ลาออกและพักการศึกษาชั่วคราวขณะตั้งครรภ์ ความชุกการตั้งใจและไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ ความชุกการคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์และหลังคลอด และศึกษาร้อยละการตั้งครรภ์ซํ้าของวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากรายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ประชากรศึกษาคือ หญิงสัญชาติไทยอายุ 10-19 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่เข้าร่วมโครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 6,966 ราย และที่มารับบริการตรวจหลังคลอด ตั้งแต่ 1 เดือน จนถึงไม่เกิน 1 ปี โดยอายุเมื่อคลอดตํ่ากว่า 20 ปี จำนวน 1,414 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แม่วัยรุ่นฝากครรภ์ขณะตั้งครรภ์ต้องลาออก/หยุดเรียนและพักการศึกษาชั่วคราว รอ้ ยละ 65.3 ในแมวั่ยรุน่ ที่เรียนในระบบโรงเรียน และรอ้ ยละ 24.4 ในแมวั่ยรุน่ ที่เรียนนอกระบบโรงเรียน สำหรับแมวั่ยรุน่ หลังคลอด ลาออก/หยุดเรียน และพักการศึกษาชั่วคราว รอ้ ยละ 66.9 ในแมวั่ยรุน่ ที่เรียนในระบบโรงเรียน และรอ้ ยละ 22.2 ในแมวั่ยรุน่ ที่เรียนนอกระบบโรงเรียนแมวั่ยรุน่ อายุ 18-19 ป ี ตั้งใจตั้งครรภ ์ รอ้ ยละ 57.9 สำหรับแม่วัยรุ่นที่ไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ ก่อนตั้งครรภ์ไม่มีการคุมกำเนิด ร้อยละ 47.1 แต่แม่วัยรุ่นหลังคลอด มีการคุมกำเนิดมากถึงร้อยละ 89.7 การตั้งครรภ์หรือการคลอดครั้งนี้เป็นการตั้งครรภ์ซํ้า ร้อยละ 15.5 โดยเป็นการตั้งครรภ์ซํ้าหรือคลอดภายใน 2 ปี นับจากการตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ 10.2 ข้อเสนอแนะ การพัฒนาการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นระบบที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในระดับประเทศนั้น จะเอื้อให้ประเทศไทยมีข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแม่วัยรุ่นและทารกให้ได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นปัญหาของสังคมและประเทศชาติต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)