ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการจัดการขยะอันตราย ของครัวเรือน ในอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ โลไธสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จารุวรรณ โลไธสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทัศนีย์ ศิลาวรรณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐกมล ชาญสาธิตพร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไกรชาติ ตันตระการอาภา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ขยะอันตราย, การจัดการขยะอันตราย, พหุระดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อ การจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน ในอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยศึกษาปัจจัยระดับครัวเรือนและชุมชนตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 558 ครัวเรือน 35 หมู่บ้าน เก็บรวมรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 2 ชุด คือ แบบสัมภาษณ์ตัวแทนครัวเรือน และแบบสัมภาษณ์ผู้นำและแกนนำการจัดการขยะ ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแปรพหุระดับในรูปแบบ 2 ระดับ ด้วยการวิเคราะห์โมเดลว่าง (Null model) การวิเคราะห์โมเดลอย่างง่าย (Simple model) และการวิเคราะห์โมเดลตามสมมติฐาน (Hypothetical Model) ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนร้อยละ 90.5 มีการจัดการขยะอันตรายอยู่ในระดับเหมาะสม รองลงมาคือ ระดับพอใช้ และระดับควรปรับปรุง (ร้อยละ 6.1 และ 3.4 ตามลำดับ) ปัจจัยระดับครัวเรือนที่ส่งผลต่อการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความรอบรู้ด้านการจัดการขยะอันตรายของตัวแทนครัวเรือน (p =0.013) และการไม่มีพื้นที่จัดเก็บขยะในครัวเรือน (p <0.001) ปัจจัยระดับชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดการขยะอันตรายของครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการจัดการขยะในชุมชนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (p =0.038) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรส่งเสริมให้ครัวเรือนจัดสรรพื้นที่วางถังขยะ และเก็บรวบรวมขยะอันตราย ควรสร้างความรอบรู้ด้านการจัดการขยะอันตรายที่ถูกต้องให้กับครัวเรือน และสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมหรือโครงการในการจัดการขยะอันตรายในชุมชน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-08

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)