การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ประจักษ์ จันทะราช สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ประชาชนกลุ่มวัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-59 ปีในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ที่มีผลการคัดกรองยืนยันความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประชากรกลุ่มตัวอย่างสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 60 คนรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและอภิปรายวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test จากการศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงาน อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่นก่อนการพัฒนาแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 41.7 ( x ̅ =6.0 SD=1.87 Max= 10 Min=2) ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ ร้อยละ 48.0 (x ̅ =6.5 SD=1.45 Max= 10 Min=2) ด้านการสื่อสารสุขภาพ ร้อยละ 56.7 ( x ̅=10.06 SD=1.45 Max= 15 Min=5) ด้านการจัดการตนเองร้อยละ 61.7 ( x ̅=16.83 SD=3.04 Max= 25 Min=9) และด้านพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 68.3 (x ̅ =32.96 SD=6.59 Max= 43 Min=17) และส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีคือ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ร้อยละ 75.0 ( x ̅=8.18 SD=1.29 Max= 10 Min=5) ด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 48.7 ( x ̅=14.90 SD= 3.29 Max= 20 Min=5) จึงได้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มวัยทำงาน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม โดยเริ่มจากการวางแผนแสวงหาความร่วมมือและใช้ทุนทางสังคม การศึกษาปัญหาความต้องการของชุมชนออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปฏิบัติตามแผนโดยการพัฒนาความรู้และทักษะประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ด้านการสื่อสาร ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการตัดสินใจ และด้านการจัดการตนเอง หลังจากนั้นร่วมกันสังเกตและสะท้อนผล หลังการศึกษาพบว่า ระดับปานกลางเพิ่มขึ้น 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพ ร้อยละ 58.3 (x ̅ =7.18 SD=1.27 Max= 10 Min=5) ด้านการสื่อสารสุขภาพ ร้อยละ 58.3 (x ̅ =10.76 SD=2.05 Max= 15 Min=7) และระดับดีเพิ่มขึ้น 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจร้อยละ 35.0 หลังการทดลองส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.0 ( x ̅=6.7 SD=1.58 Max= 10 Min=4 ) ด้านการจัดการตนเองร้อยละ 30.0 (x ̅ =17.48 SD=2.75 Max= 25 Min=13) ด้านการรู้เท่าทันสื่อร้อยละ 86.7 ( x ̅=8.93 SD=1.12 Max= 10 Min=6) ด้านทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 55.0 ( x ̅=15.50 SD=2.74 Max= 20 Min=8) และด้านพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 25.0 โดยทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=<0.05) จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมสามารถพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพได้และควรดำเนินกิจกรรมและประเมินผลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นให้มีความคงอยู่ของความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)