รูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลที่ยังไม่เคยขอรับรอง มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น และเยาวชน ฉบับ พ.ศ.2563 เขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
  • รัชนี ลักษิตานนท์ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรส????ำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ.2563, เขตสุขภาพที่ 5

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ความคิดเห็นและการรับรู้การดำเนินงานตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friendly Health Services : YFHS) ฉบับ พ.ศ.2563 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานของโรงพยาบาลที่ยังไม่เคยขอรับรองมาตรฐาน YFHS 3) ประเมินผลการจัดบริการสุขภาพตามมาตรฐาน YFHSประชากร คือ โรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานYFHS รวม 17 แห่ง การศึกษามี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน ความคิดเห็น และการรับรู้การดำเนินงานที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ระยะที่ 2 ระยะขับเคลื่อนการพัฒนาโรงพยาบาลตามมาตรฐาน YFHS โดยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) คัดเลือกโรงพยาบาล (จากระยะที่ 1) จำนวน 3 แห่ง เข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์การคัดเลือก ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาตามกรอบมาตรฐาน YFHS ระยะที่ 3 ระยะติดตามผล โดยการนิเทศติดตาม การประเมินรับรองโรงพยาบาล และประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา ข้อมูลสถานการณ์ จากบุคลากรจำนวน 44 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.5 มีประสบการณ์ทำงานด้านเด็ก วัยรุ่น หรือเยาวชน 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 31.8 พบว่ามีการรับรู้การดำเนินงานYFHS องค์ประกอบที่ 2 ระบบบริการ ในระดับน้อย ( x ̅= 2.49,SD 0.33) ระยะขับเคลื่อนได้วางแผนการดำเนินงานด้วยการอบรม สร้างความเข้าใจในเครือข่ายการดูแลกลุ่มวัยรุ่น วางแผนการจัดบริการร่วมกัน และทีมพี่เลี้ยงชี้แนะ ให้คำแนะนำการพัฒนาตามมาตรฐาน YFHS ระยะติดตามผล พบว่าโรงพยาบาลผ่านเกณฑ์การประเมินรับรอง 2 แห่ง มีคะแนนรวม 82.73 และ 82.36 ในระดับดีมาก (คะแนนเท่ากับ 80-89 คะแนน) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการต่อการให้บริการ และบุคลากรที่มีต่อการเยี่ยมพัฒนา ให้คำปรึกษาและการเป็นพี่เลี้ยง (Coach) ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ( x ̅= 4.28, SD = 0.63), ( x ̅= 4.03, SD = 0.51) และ ( x ̅= 4.18, SD = 0.36) ตามลำดับ ปัจจัยสำเร็จในการจัดบริการ คือ มีนโยบายที่ชัดเจน มีบุคลากรที่รับผิดชอบในการให้บริการ และ มีความร่วมมือของทุกเครือข่าย จะเห็นได้ว่าการพัฒนาบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ควรได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากบริบทของการจัดบริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผน และดำเนินการพัฒนาระบบบริการเกิดการบูรณาการงานร่วมกัน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)