แนวทางการประเมินกลับเข้าทำงาน ในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ จำรูญสวัสดิ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง

คำสำคัญ:

การกลับเข้าทำงาน, ไวรัสโคโรนา 2019, อาการหลังป่วยด้วยไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ปัจจุบันไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง แรงงานเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ มีโอกาสสัมผัสโรคทั้งจากการเดินทางและการทำงาน ในผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะพบอาการและอาการแสดงคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่มีระยะฟื้นตัวที่นานกว่า อาการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ การประเมินกลับเข้าทำงานจึงมีความสำคัญ ประเทศไทยมีกฎหมายกำหนดให้ประเมินกลับเข้าทำงานในลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง การประเมินกลับเข้าทำงานมีประโยชน์ในการประเมินสุขภาพของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ว่ามีความพร้อมและเหมาะสมต่อลักษณะงานหรือไม่ การประเมินอาศัยความร่วมมือในหลายภาคส่วนได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และแพทย์ บทบาทของแพทย์คือการประเมิน และให้คำแนะนำในการกลับเข้าทำงาน ลูกจ้างต้องให้ข้อมูลที่เป็นความจริง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ยึดหลัก “D-M-H-T-T-A” ส่วนนายจ้างมีหน้าที่จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมกับลูกจ้าง โดยอาศัยคำแนะนำของแพทย์และมาตรการที่กำหนด เช่น มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ของกรมอนามัย รวมถึงติดตามอาการลูกจ้างเป็นระยะขณะทำงาน และส่งต่อลูกจ้างเข้ารับการติดตามหรือรักษากับแพทย์ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถติดเชื้อและส่งผลกระทบได้ในทุกกลุ่มประชากร วัยแรงงานไม่ได้หมายถึงเพียงลูกจ้างในระบบเท่านั้น และลักษณะงานไม่ได้มีแต่งานที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง การประเมินกลับเข้าทำงานจึงมีความสำคัญในทุกลักษณะงาน แพทย์ควรติดตามอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง และให้คำแนะนำในการกลับเข้าทำงาน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-28

ฉบับ

บท

Review Article (บทความปริทัศน์)