ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับเป็นซำ้ของมะเร็งเต้านม : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • นิรมล พจน์ด้วง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สมคิด ปราบภัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง Borommarajonani College of Nursing, Nonthaburi, Parboromrajchanok Institute
  • อรธิรา บุญประดิษฐ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

มะเร็งเต้านม, การกลับซำ้, ปัจจัยเสี่ยง, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

มะเร็งเต้านมที่เกิดขึ้นมาใหม่หลังจากโรคสงบไประยะหนึ่ง หมายถึง มีการกลับซ้ำของมะเร็งเต้านม เกิดขึ้นหลังจากจบการรักษาไปแล้ว การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมงานวิจัยและสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม จากเอกสารงานวิจัยที่สืบค้นอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2564 ซึ่งมีงานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์คัดเข้าและการประเมินคุณภาพงานวิจัยจำนวน 14 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์แก่นเรื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า มีห้ากลุ่มปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม ได้แก่ ลักษณะบุคคล ลักษณะทางคลินิกและทางพยาธิวิทยา การรักษาที่ได้รับ ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ โดยพบว่า ปัจจัยหลักที่มีการศึกษาอย่างแพร่หลายและส่งผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมคือ ลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยา รองลงมาคือ ภาวะน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐานซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยของภาวะสุขภาพ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม มีทั้งปัจจัยที่บุคคลสามารถควบคุมได้และนอกเหนือการควบคุม ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสตรีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจบการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงจากการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-17

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)