ปัจจัยสัมพันธ์ที่มีผลต่อการติดเชื้อเอชไอวี ในทารกแรกเกิด ประเทศไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยการติดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิด, การป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study design) โดยการศึกษาย้อนหลัง (Expose Factor Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิดในบริบทของประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนางานการยุติการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิด ตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ทารกแรกเกิด ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 103 ราย โดยทำการเก็บข้อมูล ข้อมูลย้อนหลังจากแบบรายงานการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่และ/หรือ การเสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ระยะเวลาที่ศึกษา เดือนสิงหาคม 2563 – ธันวาคม 2563 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยของหญิงตั้งครรภ์ที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิด ได้แก่ การมาฝากครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ ร้อยละ 52.32 เป็นการติดเชื้อในครรภ์แรก ร้อยละ 56.56 และพบว่ามีการติดเชื้อของสามีหรือคู่ร่วมด้วย ในการรับการรักษาพบว่าครึ่งหนึ่งได้รับการรักษาตามมาตรฐาน 2. ปัจจัยของทารกสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในทารกแรกเกิดพบว่าร้อยละ 30.10 มีการคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 9.71 ไม่ได้รับการวินิจฉัยการติดเชื้อเมื่อแรกคลอด (PCR at birth) และร้อยละ 6.59 ได้กินนมแม่ขณะอยู่โรงพยาบาล และขณะอยู่บ้านผู้ปกครองมีการเคี้ยวอาหารป้อน 3. สรุปสาเหตุที่เป็นปัจจัยต่อการติดเชื้อเอชไอวีในทารก พบว่าการฝากครรภ์ช้าและการไม่ฝากครรภ์ การให้บริการที่ไม่มีประสิทธิภาพ การกินยาต้านไวรัสไม่สม่ำเสมอ การติดเชื้อภายหลังการคลอด และการไม่มารับการดูแลตามนัดหมาย ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การส่งเสริมสนับสนุน การฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อค้นหาความเสี่ยงและให้การดูแลตามมาตรฐาน เพิ่มความเข้มแข็งระบบบริการการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก เช่น การให้การปรึกษา การให้ยาต้านไวรัส การดูแลต่อเนื่องรายบุคคลและการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มประชากรทั่วไป เน้น กาตรวจเลือดก่อนแต่งงาน การป้องกันและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.