ความรอบรู้สุขภาพ กิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร การนอนหลับ การจัดการความเครียด และภาวะโภชนาการ ของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เกษม เวชสุทธานนท์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย
  • สุพิชชา วงค์จันทร์ กองกิจกรรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ณัฐนันท์ แซมเพชร กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้สุขภาพ, กิจกรรมทางกาย, การบริโภคอาหาร, การนอนหลับ, การจัดการความเครียด, ภาวะโภชนาการของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และความสัมพันธ์ของความรอบรู้สุขภาพ กิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร การนอนหลับ การจัดการความเครียด และภาวะโภชนาการของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ อายุระหว่าง 45 - 59 ปี โดยกำหนดเขตพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 – 13 จำนวน 1,052 คน ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่างมกราคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ คือแบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพ กิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร การนอนหลับ การจัดการความเครียด และภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค Path Analysis พบว่า ความรอบรู้สุขภาพ กิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร การนอนหลับ การจัดการความเครียด มีอิทธิพลต่อ ภาวะโภชนาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาถึงค่าอิทธิพล พบว่า ความรอบรู้สุขภาพมีค่าอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ .47 รองลงมา ได้แก่ การจัดการความเครียดมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .29 การบริโภคอาหารมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .25 กิจกรรมทางกายมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .24 และ การนอนหลับมีค่าอิทธิพลเท่ากับ .22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ข้อเสนอเชิงนโยบายของการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมของผู้สูงอายุของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 มิติในเชิงนโยบาย ประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการเงินและทรัพย์สิน ด้านการทำงานหลังเกษียณ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)