การประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของภาคีเครือข่าย จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมลักขณ์ วิจิตรานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ
  • สุวะรีย์ ดำเนินวุฒิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของภาคีเครือข่าย จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากผู้รับผิดชอบ 2 กลุ่ม 1. ผู้แทน 5 กระทรวงจากคณะอนุกรรมการฯ ภาคเอกชนและประชาสังคม จำนวน 12 คน 2. คณะทำงาน/ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจาก 5 หน่วยงานๆ ละ 8 คนรวม 40 คน รวม 52 คน รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิและเก็บข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติร้อยละและอัตรา เชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ดำเนินการเดือนมกราคม-กันยายน 2565 ผลการวิจัย พบว่า บริบท การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง การตั้งครรภ์ซ้ำ การคุมกำเนิดในวัยรุ่นยังไม่ผ่านเกณฑ์ค่าเป้าหมาย วัยรุ่นมีพฤติกรรมเสี่ยงสูงขึ้น ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศวิถี ขาดการมีส่วนร่วม เข้าไม่ถึงความรู้บริการและสวัสดิการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ภาคีเครือข่ายส่วนใหญ่ไม่มีการบูรณาการแผนการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนค่อนข้างน้อย ไม่ครอบคลุม ไม่สอดคล้องกับความสภาพปัญหาต้องการของวัยรุ่น ในภาพรวมไม่มีผู้รับผิดชอบหลัก กลวิธีที่สำคัญ เร่งรัดและปรับวิธีการดำเนินงานให้สอดคล้องครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ปัจจัยนำเข้า ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินงานแบบบูรณาการทั้งกำลังคน งบประมาณและอุปกรณ์เครื่องมือ แต่ยังไม่มีการบูรณาการประสานแผนการดำเนินงาน แผนงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือ กระบวนการ การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนิเทศงาน ติดตามกำกับ การพัฒนาศักยภาพทีมงาน ส่วนใหญ่ดำเนินงานภายใต้ภารกิจของหน่วยงานไม่มีการบูรณาการ ผลลัพธ์ ความสำเร็จผ่านค่าเป้าหมายร้อยละ 54.8 จุดเด่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มลดลง วัยรุ่นในสถานศึกษาได้เรียนรู้ ได้รับการดูแลช่วยเหลือปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ ส่งต่ออย่างเป็นระบบ อปท.บรรจุเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่น การดำเนินงานในพื้นที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น ตัวชี้วัดที่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง มีระบบการจัดเก็บชัดเจน สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อขัดข้องตัวชี้วัดบางตัวกว้างเกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน หรือไม่มีเจ้าภาพโดยตรง ระบบการจัดเก็บไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลตอบค่าเป้าหมายตัวชี้วัดได้ครบถ้วน ผลผลิตไม่สอดคล้องกับผลการดำเนินงาน หรือไม่มีการดำเนินงาน จากผลการศึกษา ควรกำหนดโครงสร้างการขับเคลื่อนให้สอดคล้องเชื่อมโยงกันระหว่างเป้าหมายตัวชี้วัดรายยุทธศาสตร์กับตัวชี้วัดสูงสุดของยุทธศาสตร์ จัดทำข้อตกลง กำหนดบทบาทหน้าที่ให้สนับสนุน ส่งเสริม ซึ่งกันและกันทั้งแนวราบแนวดิ่ง สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสร้างกระบวนเรียนรู้ ปรับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ ยุทธศาสตร์ฯ พ.ร.บ.ฯ สร้างความตระหนัก ความรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหาร่วมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ สร้างและสนับสนุนบทบาทสภาเด็กฯ ให้ชัดเจนครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน โดยใช้พื้นที่เป็นฐานผ่านกระบวนการจัดการของ อปท. ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนแต่ละยุทธศาสตร์ให้ครอบคลุมุเพียงพอ เข้าถึงวัยรุ่นทุกกลุ่ม ทุกสถานที่

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-25

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)