การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ป้องกันไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า และกินข้าวอร่อย ภายใต้แนวคิดชราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, ไม่ล้ม, ไม่ลืม, ไม่ซึมเศร้า และกินข้าวอร่อย, ชราธิวาสบทคัดย่อ
จากการเพิ่มสูงขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ ทำให้พบภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มอาการจำเพาะในผู้สูงอายุ (Geriatric syndromes) ซึ่งเกิดจากภาวะถดถอยของการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ปัจจุบันการดูแลผู้สูงอายุ มีความสลับซ้ำซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันหกล้ม ไม่หลงลืม ไม่ซึมเศร้า และให้รับประทานอาหารอร่อย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องทราบและเข้าใจถึงผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และต้องมีการจัดระบบบริการสุขภาพในผู้สูงอายุให้เหมาะสม และปลอดภัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและค้นคว้า หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Design) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pre-test Post-test design) โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 382 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส เกณฑ์การคัดเข้ากลุ่มเป็นผู้สูงอายุที่สมัครใจ รวบรวมข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพ ก่อนและหลังทดลอง หลังจากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่โปรแกรมพัฒนารูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพแก่บุคลากรด้านการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมสหสาขาวิชาชีพ กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 4 จัดมหกรรมส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดชราธิวาส กิจกรรมที่ 5 สร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า และกินข้าวอร่อย ภายใต้แนวคิดชราธิวาส และเสริมสร้างพลังอำนาจให้เกิดความยั่งยืนต่อไป ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุป้องกันไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า และกินข้าวอร่อย ภายใต้แนวคิดชราธิวาส จังหวัดนราธิวาส นำมาใช้ พบว่าผลการทดสอบทางสถิติของข้อมูลก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index :BMI) การทดสอบการเดินการทรงตัว และการประเมินภาวะซึมเศร้า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p <0.05
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.