การพัฒนารูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ ตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อม เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เกษม เวชสุทธานนท์ สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ, หลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต, กลุ่มวัยก่อนสูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาความต้องการบริการการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตรว์ ิถีชีวิต สำหรับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) และประเมินผลการใช้รูปแบบบริการที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ประกอบด้วยผู้รับบริการกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (45-59 ปี) ที่มารับบริการคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง จำนวน 15 คน บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 8 คน ระยะที่ 2 ประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 8 คน ระยะที่ 3 ผู้รับบริการกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (45-59 ปี) จำนวน 60 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางสนทนากลุม่ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบริการสรา้ งเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต 2) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบบริการฯ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพวิถีชีวิต ค่าความเชื่อมั่นของอัลฟาคอนบารค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วย Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ระยะที่ 1 บริการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) แบบเดิมยังไม่ครอบคลุมมิติของการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต ระยะที่ 2 รูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ 1) การประเมินภาวะสุขภาพ 2) พบแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์วิถีชีวิต 3) การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ, การออกกำลังกาย, การจัดการความเครียด, การนอนหลับ, การเลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์, ความสัมพันธ์ 4) การสนับสนุนและให้คำแนะนำในการจัดการภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน 5) การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม : การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ, การเสริมสรา้ งความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะที่ 3 ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ กลุม่ ตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการประเมินพฤติกรรมวิถีชีวิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรใช้รูปแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิต สำหรับกลุ่มวัยก่อนสูงอายุ (Pre-aging) ที่ได้พัฒนาขึ้นในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผูสู้งอายุเพื่อเป็น ต้นแบบในการจัดบริการสำหรับหน่วยงานอื่นๆ ตอ่ ไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-25

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)