ความแตกต่างของคุณภาพนํ้าบ่อจากผลการขึ้นลง ของนํ้าทะเล อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
คลอไรด์, บ่อนํ้า, นํ้าขึ้นนํ้าลงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณภาพนํ้าบ่อในจังหวัดชุมพร จากผลนํ้าทะเลขึ้นและลง โดยเก็บนํ้าจากบ่อนํ้าที่ติดชายทะเลในระยะทางไม่เกิน 2 กม. จำนวน 3 บ่อ คือ บ่อที่ 1-3 และจากบ่อนํ้าที่ห่างจากทะเล ระยะมากกว่า 10 กม. จำนวน 3 บ่อ คือ บ่อที่ 4-6 เก็บตัวอย่างน้ำวันละ 2 ครั้ง ทั้งหมด 12 ตัวอย่างตรวจวิเคราะห์หาค่าความเข้มข้นของคลอไรด์ ค่าพีเอช อุณหภูมิของนํ้า ของแข็งละลายนํ้าทั้งหมดและความนำไฟฟ้า ผลการตรวจพบว่า ค่าคลอไรด์ เมื่อเปรียบเทียบตามสภาวะระหว่างนํ้าทะเลขึ้นและลงโดยไม่จำแนกระยะทางความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของตัวแปรสองตัวคือ Cl- และ Temp. โดยปริมาณ Cl- โดยเฉลี่ยทั้ง 6 บ่อทดลองเท่ากับ 3.04 mg/L ค่า Temp. เฉลี่ยทั้ง 6 บ่อการทดลอง เท่ากับ 1.44 ºc สำหรับตัวแปรที่ศึกษาอีก 3 ตัวแปรไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และค่าความเข้มข้นของคลอไรด์มีค่าระหว่าง 16.0-8.0 มก./ลิตร ซึ่งมีค่าตํ่ากว่าค่าคลอไรด์ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกที่ 250 มก./ลิตร โดยค่า pH ของนํ้าบ่ออยู่ในช่วง 5.3-7.3 และค่าของแข็งละลายนํ้าทั้งหมดมีค่า 19.5-264 ค่าความนำไฟฟ้า 48–541 μs/m, ค่าอุณหภูมิ 27.2-30.55 ºc และพบว่าคุณภาพนํ้าบ่อที่ 1, บ่อที่ 3 และ บ่อที่ 5 มีค่า pH 5.3, 6.2 และ 6.0 ตามลำดับ ซึ่งตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคุณภาพนํ้าบาดาล และที่ค่า pH ตํ่า เนื่องมาจากนํ้าบาดาลทั้ง 3 บ่ออยู่ในชั้นดินชุดที่ 16 และ 25 ซึ่งดินดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นกรดสูง ทำให้นํ้าบาดาลที่อยู่ในชั้นดินมีค่า pH ตํ่ากว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ควรมีการศึกษาถึงกระบวนการแทรกซึมของนํ้าทะเล
ไฟล์เพิ่มเติม
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.