การจัดการระบบบริการสุขภาพในสภาวะการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศกรณีภัยพิบัติอุทกภัย บริบทโรงพยาบาลชุมชนเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้ามูล จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • อนุศร การะเกษ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • เกตุนรินทร์ บุญคล้าย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
  • วรรณชาติ ตาเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • พิศมัย ประสมศรี โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
  • ธนพงศ์ เขตอริยกุล โรงพยาบาลคง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการภัยพิบัติ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การจัดการอุทกภัยในบริบทโรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาแนวทางและประเมินผลแนวทางการจัดการระบบบริการสุขภาพในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีภัยพิบัติอุทกภัยบริบทโรงพยาบาลชุมชนเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล จังหวัดศรีสะเกษ ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติตามแผน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล โดยศึกษาในพื้นที่ประสบภัยพิบัติอุทกภัยบริบทโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กันยายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC = 0.66 – 1.00 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย 1) สถานการณ์เหตุการณ์ ปัญหาด้านบริหารจัดการระบบ การคาดการณ์และวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงผิดพลาด ปัญหาผู้รับบริการด้านองค์ความรู้ การคาดการณ์และวิธีการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพเมื่อเกิดภัยพิบัติที่ต้องได้รับการสนับสนุนบริการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริง 2) รูปแบบการจัดการระบบบริการสุขภาพในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีภัยพิบัติอุทกภัยบริบทโรงพยาบาลชุมชนเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล จังหวัดศรีสะเกษ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ประชาชนหรือผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลชุมชนและส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดการระบบบริการสุขภาพ 4 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะก่อนการเกิดภัยพิบัติหรือการเตรียมกล่องภารกิจ (2) ระยะซ้อมแผนก่อนเกิดภัยพิบัติตามกล่องภารกิจ (3) ระยะวิกฤติ (ขณะเกิดภัยพิบัติ) หรือการดำเนินงานตามกล่องภารกิจ (4) ระยะฟื้นฟู (ภายหลังการเกิดภัยพิบัติ) หรือระยะทบทวนกล่องภารกิจและถอดบทเรียน 3) ผลลัพธ์แนวทางการจัดบริการทางสุขภาพ พบว่า โรงพยาบาลชุมชนมีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามแผนนโยบายด้วยการใช้รูปแบบกล่องภารกิจ เพิ่มศักยภาพด้านการส่งต่อด้วยการโดยสารทางเรือและเครือข่ายส่งต่อ ผสานความร่วมมือและอำนวยความสะดวกด้านระบบบริการสุขภาพแบบทีมรักษาพยาบาลในพื้นที่ ทีมอพยพผู้ป่วยออกจากพื้นที่ ทีมจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ส่งผลให้ผู้รับบริการมีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการในระดับมากร้อยละ 96.78 ผลจากการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการจัดบริการสุขภาพในสภาวะภัยพิบัติอุทกภัยบริบทโรงพยาบาลชุมชนเขตในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำได้

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)