สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง ในแต่ละเขตสุขภาพของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุดม อัศวุตมางกุร กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ฐิติกร โตโพธิ์ไทย กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, พฤติกรรมเนือยนิ่ง, ความชุก, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคไม่ติดต่อ การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งในแต่ละเขตสุขภาพของประเทศไทยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนปี พ.ศ.2564 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับโลก ตัวแปรตาม คือ กิจกรรมทางกายเพียงพอและพฤติกรรมเนือยนิ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก โดยจัดพฤติกรรมเป็น 4 รูปแบบ (1) กิจกรรมทางกายเพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งตํ่า (2) กิจกรรมทางกายเพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งสูง (3) กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งตํ่า และ (4) กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งสูง วิเคราะห์ผลโดยใช้การถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม การศึกษานี้ มีผู้เข้าร่วม 78,717 คน โดยพบรูปแบบพฤติกรรมที่พบมาก คือ กิจกรรมทางกายเพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งตํ่า (ร้อยละ 54.6) ทั้งนี้ พบว่า การอาศัยอยู่ในเขตสุขภาพที่ 2, 3, 4, 7, 8, 10, 11, 12 และ 13 มีโอกาสที่จะมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งตํ่า (เมื่อเทียบกับการอยู่ในพื้นที่สุขภาพภูมิภาคที่ 1 นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีพฤติกรรมพึงประสงค์ (กิจกรรมทางกายเพียงพอ/พฤติกรรมเนือยนิ่งต่ำ) อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนที่ยังมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)