ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นิสิต จงศุภวิศาลกิจ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนมทวน

คำสำคัญ:

ศักยภาพด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม, สถานบริการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานบริการสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานบริการสาธารณสุข 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการสาธารณสุข 4) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการสาธารณสุข ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อม จำนวน 164 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารของสถานบริการสาธารณสุข จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุด้วยวิธีการนำเข้า การสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการถอดความและให้ความหมาย ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของศักยภาพในการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดี (

x ̅=3.98,S.D.=0.600) โดย ด้านความเชี่ยวชาญด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานบริการ อยู่ในระดับดี (x ̅=4.13,S.D.=0.562) รองลงมา คือ ด้านการนำองค์การ อยู่ในระดับดี (

x ̅=4.05,S.D.=0.742) และด้านการจัดโครงสร้าง อยู่ในระดับดี (x ̅=4.03,S.D.=0.694) การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของสถานบริการสาธารณสุข พบว่า การจัดการมูลฝอยทั่วไป อยู่ในระดับดี (x ̅=4.07,S.D=0.657) การจัดการมูลฝอยอันตราย อยู่ในระดับดี (x ̅=4.21,S.D=0.730) การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อยู่ในระดับดี (x ̅=4.56,S.D=0.444) การพัฒนาส้วมตามมาตรฐานส้วมสาธารณะไทยและการจัดการสิ่งปฏิกูล อยู่ในระดับดี (x ̅=4.34,S.D=0.590) การจัดการพลังงานและทรัพยากร อยู่ในระดับดี (x ̅=3.77,S.D=0.748) การจัดการสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานบริการ อยู่ในระดับดี (x ̅=4.23,S.D=0.552) การจัดการสุขาภิบาลอาหารและการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค อยู่ในระดับดี (x ̅=4.07,S.D=0.605) ปัจจัยด้านศักยภาพ ที่ส่งผลต่อการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม คือ ปัจจัยด้านการนำองค์การ (B=0.317,P=0.000) และปัจจัยด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอเหมาะสม (B=0.132,P=0.034) แนวทางในการพัฒนาควรมีแผนการดำเนินงานด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน มีแผนการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่เพียงพอ และมีการพัฒนาทักษะผู้รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)