การศึกษาโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและส่งผลต่อความสุขในการทำงาน โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในหน่วยงานสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ยลวรณัฏฐ์ จีรัชตกรณ์ งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • เจษฎา สุวรรณวารี งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คำสำคัญ:

แบบสำรวจความสุขในสถานที่ทำงาน, การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย, เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ องค์ประกอบร่างกาย, โปรแกรมการออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

งานสร้างเสริมสุขภาพ ตระหนักในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานและความสุขในการทำงาน เพื่อให้การมีสุขภาพที่ดี มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีความสุขและสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสุขและสุขภาพที่แข็งแรง วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายในการส่งเสริมสุขภาพกายและความสุขในการทำงานของบุคลากรงานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วิธีการดำเนินการ เก็บข้อมูลบุคลากรงานสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 34 คน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1. แบบสอบถาม การสำรวจความสุข Happinometer ก่อนและหลัง ในการเข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการและ การฝึกปฏิบัติโปรแกรมการออกกำลังกาย 2. การชั่งน้ำหนัก ด้วยเครื่อง Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) เพื่อวิเคราะห์ น้ำหนักตัว ปริมาณมวลของกล้ามเนื้อ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และดัชนีมวลกาย โดยน้ำหนักตัวของบุคลากร ก่อนและหลัง เข้าโครงการวิจัย จากข้อมูลที่ได้พบว่าบุคลากรงานสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนเข้าโครงการวิจัย ผลด้านสุขภาพกายดีอยู่ที่ 64 คะแนน และหลังเข้าโครงการวิจัยคะแนนอยู่ที่ 67 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 3 คะแนน มีค่า Median ของน้ำหนักตัว คือ 68.6 กิโลกรัม (Min-Max 46 - 92) ซึ่งมีน้ำหนักตัวมากเกิน เมื่อนำมาคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วพบว่าบุคลากรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่เกณฑ์ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (Over weight, BMI = 23.0 - 24.9) 8.86% (3/34) อ้วนระดับที่1 (Obesity grade1, BMI = 25.0 - 29.9) 29.4% (10/34) และอ้วนระดับที่2 (Obesity grade2, BMI >30) 11.8% (4/34) รวมทั้งทั้งหมด 50.0% (17/34) แต่หลังจากเข้าโครงการวิจัยแล้วส่วนใหญ่สามารถลดน้ำหนักตัวลงได้โดยมีการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น คือ จากเกณฑ์ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน (Over weight BMI = 23.0 - 24.9) ไปอยู่ในเกณฑ์ (Normal weight, BMI = 18.5 - 22.9) ปกติ คิดเป็น 5.9% (1/17) และจากอ้วนระดับที่ 1 (Obesity grade1, BMI = 25.0 - 29.9) ไปอยู่ในเกณฑ์มีน้ำหนักตัวมากเกิน (Over weight, BMI = 23.0 - 24.9 คิดเป็น 11.8% (2/17) และที่เหลือคิดเป็น 82.4% (14/17) มีการลดลงของน้ำหนักตัว แต่ค่าดัชนีมวลกายไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ในเกณฑ์เดิม โดยบุคลากรที่ลดน้ำหนักได้สูงสุดคือ 5.6 กิโลกรัม คิดเป็น 6.2% ของน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไป บุคลากรส่วนใหญ่สามารถลดน้ำหนักลงได้ตั้งแต่ 0.1 – 5.6 กิโลกรัม 2.1 ± 1.8 (mean ± SD) คิดเป็น 0.2 - 6.7% ของน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเพศชายมีผลลัพธ์ออกมาดีกว่าเพศหญิง คือ ลดน้ำหนักตัวได้มากกว่าส่วนเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายก่อนเข้าโครงการวิจัย อยู่ระหว่าง 4.4 - 48.7%, 27.8 ± 9.25 (mean ± SD) แต่หลังจากเข้าโครงการวิจัยแล้วพบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันอยู่ระหว่าง 3.5 - 48.4%, 27.1 ± 8.94 (mean ± SD) มีค่าลดลง และมวลของกล้ามเนื้อก่อนเข้าโครงการอยู่ระหว่าง 16.2 -37.4 กิโลกรัม, 27.5 ± 7.11 (mean ± SD) หลังเข้าโครงการวิจัยอยู่ระหว่าง 16.8 - 42.7 กิโลกรัม, 27.6 ± 7.13 (mean ± SD) ซึ่งมีการเพิ่มของมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น ซึ่งทั้ง 3 ส่วนส่งผลทำให้คะแนนความสุขด้านสุขภาพกายดีเพิ่มขี้นอย่างชัดเจน สรุปผลการออกกำลังกาย 3 วันต่อสัปดาห์และจัดการเรื่องการรับประทานอาหาร ทำให้น้ำหนักของบุคลากรงานสร้างเสริมสุขภาพลดลง และทำให้ผลสำรวจความสุข Happinometer ด้านสุขภาพกายดี ส่วนใหญ่ดีขึ้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)