ความสามารถในการปรับตัวของระบบบริการทันตกรรม เพื่อรองรับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และ โรคติดเชื้ออุบัติซำ้ในอนาคต: บทเรียนจากวิกฤตโรคโควิด 19 กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุลีพร ธรรมรังสี โรงพยาบาลปากเกร็ด

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, ระบบบริการทันตกรรม, โควิด 19, โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ

บทคัดย่อ

จากวิกฤตการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรงขึ้น และผลงานการบริการทันตกรรมที่ลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวรับมือการระบาดของโรคโควิด 19 ของระบบบริการทันตกรรมในภาครัฐ จังหวัดนนทบุรีและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากการสืบค้นข้อมูลจากเอกสาร นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง รายงานข้อมูลการระบาด ข้อมูลบริการทันตกรรม จากระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพ และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และโฟกัสกรุ๊ป ผู้ให้ข้อมูลเป็นทันตบุคลากรและสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการทันตกรรมในสถานพยาบาลภาครัฐ จังหวัดนนทบุรี และผู้รับบริการ/ประชาชน ผลการศึกษาพบว่า ระบบบริการทันตกรรมของจังหวัดนนทบุรีมีการตอบสนองต่อวิกฤตใน 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการรับมือ การปรับตัว และการฟื้นตัวจากวิกฤต โดยมีการปรับรูปแบบค่อนข้างรวดเร็ว โดยอาศัยแนวทางการปฏิบัติที่มีลักษณะผสมผสาน อ้างอิงจากคำสั่ง/แนวทางในระดับประเทศและจังหวัด มีความยืดหยุ่น หนึ่งในปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างการอภิบาลและเงื่อนไขสถานการณ์ มีการลงทุนด้านโครงสร้างอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรองรับการบริการแบบ new normal ภายใต้เงื่อนไข 3 ด้าน คือผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และระบบบริการ แต่ยังมีข้อจำกัดด้านศักยภาพในการกำกับติดตาม ดูแล ธำรงรักษาความพร้อมของระบบ และด้านระบบข้อมูลสุขภาพ โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการลดความเปราะบางของระบบ และพัฒนาศักยภาพเชิงระบบทั้งในระดับประเทศ จังหวัดและสถานพยาบาล เป็นกรอบเบื้องต้นในการรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)