การพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรองรับสังคมดิจิทัลและวิถีชีวิตปกติใหม่
คำสำคัญ:
ระบบสุขาภิบาลอาหาร, ระบบการประเมินรับรองมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารโดยยกระดับมาตรฐาน/มาตรการ และระบบการประเมินรับรองมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร โดยการรวบรวมข้อมูลการศึกษา ตรวจสอบและประมวลผล ความคิดเห็นในประเด็นการปรับปรุงมาตรฐาน กระบวนการ การรับรองและประเมินมาตรฐาน และปรับภาพลักษณ์ป้ายรับรองมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสุขาภิบาลอาหาร (2) ผู้ประกอบการตลาด (3) ผู้ประกอบการร้านอาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1) การสัมภาษณ์ (2) การสนทนากลุ่ม (3) การประชุม (4) การสอบถามข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มเจ้าหน้าที่มีความเข้าใจกระบวนการสุขาภิบาลอาหาร แต่ภาระงานมีมากเกินศักยภาพของ อปท. ทำให้การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารไม่ได้ตามที่กฎหมายกำหนด (2) ผู้ประกอบการตลาดเห็นว่าขั้นตอนการขอต่อใบอนุญาตและขั้นตอนการตรวจประเมินมีความเหมาะสม ควรมีระบบสุ่มตรวจการประเมินโดยเจ้าหน้าที่ ผู้ขาย/ผู้ช่วยขายอาหารจะต้องผ่านการอบรม การตรวจสุขภาพทุกปี (3) ผู้ประกอบการร้านอาหาร เห็นว่าขั้นตอนการตรวจประเมินโดยภาครัฐมีความเหมาะสม มีความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสัดส่วนใกล้เคียงกันกับการเปลี่ยนระบบตรวจประเมินออนไลน์ การต่ออายุการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบการด้วยการทำแบบทดสอบความรู้ (Online) และการจัดทำป้ายรับรองเพียง 1 ป้าย มี QR Code สำหรับแจ้งเรื่องร้องเรียน และการจัดทำ Application โดยการพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารเพื่อรองรับสังคมดิจิทัลและรองรับวิถีชีวิตปกติใหม่ จะดำเนินการพัฒนา 3 ส่วน ประกอบด้วย Standard, Process, Logo ซึ่งจะเป็นกลไกเอื้อในการดำเนินสุขาภิบาลอาหารที่สอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทของสังคมในยุคดิจิทัล ทั้งการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานลดความซ้ำซ้อน การปรับปรุงระบการประเมินรับรองมาตรฐาน โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ลดระยะเวลาการทำงาน เพิ่มความสะดวก ตอบสนองได้ทันที ตรวจสอบผลการประเมินได้ด้วยตนเอง และการปรับภาพลักษณ์ตราสัญลักษณ์ให้ทันสมัย สร้างการจดจำ เพิ่มความเชื่อมั่น การสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริโภค ข้อเสนอเชิงนโยบาย (1) Re standard ทบทวนรายละเอียดเกณฑ์ ปรับปรุง ศึกษาทดลองใช้เกณฑ์ที่ตรวจแล้วสามารถประเมินผลได้ทันที (2) Re Process กำหนดแนวทางการพัฒนางาน ตัวชี้วัด ประเมินประสิทธิภาพ การดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารของหน่วยงานแต่ละระดับ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนการดำเนินงาน (3) Re Logo การสร้าง Branding ความน่าเชื่อถือของป้ายรับรองมาตรฐาน
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.