การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • เพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, การดูแลกลุ่มเปราะบาง, การถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

จังหวัดเพชรบุรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในการดูแลกลุ่มเปราะบาง แต่ยังไม่มีรูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดเพชรบุรี พัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ การดูแลกลุ่มเปราะบาง ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ การดูแลกลุ่มเปราะบางเพื่อขยายผล วิธีการวิจัยป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการดูแลกลุ่มเปราะบาง เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และ ระยะที่ 3 ขยายผลการนำรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตไปใช้ในการดูแลกลุ่มเปราะบาง โดยการถอดบทเรียนการสะท้อนกลับ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามระดับความพึงพอใจของผู้ให้บริการ และการรับบริการของกลุ่มเปราะบางด้วยการสุ่ม จำนวน 99 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จากนั้นสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดเพชรบุรีมีรูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ประกอบด้วย 1) นโยบายที่ชัดเจน 2) การมีทีมนำที่เข้มแข็ง 3) การจัดตั้งอนุกรรมการ พชอ. 4) การใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง และ 5) การสร้างค่านิยมร่วม โดยมีรูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอการดูแลกลุ่มเปราะบาง ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล 2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) วิเคราะห์และกำหนดปัญหาแบบมีส่วนร่วม 4) จัดทำแผนการดูแล กลุ่มเปราะบาง 5) จัดหางบประมาณ 6) ดำเนินการด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 7) มีแผนและกำกับ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 8) การถอดบทเรียน 9) การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้เมื่อได้ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอการดูแลกลุ่มเปราะบาง มีการบูรณาการทำให้กลุ่มเปราะบางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์คุณภาพ UCCARE 8 อำเภอโดยผู้ให้บริการ มีระดับความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด x ̅ = 4.52 และกลุ่มเปราะบางมีระดับความพึงพอใจ ระดับมาก x ̅ = 2.40 สรุปผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดเพชรบุรีในการดูแลกลุ่มเปราะบาง ต้องมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วน มีนโยบายชัดเจน คณะกรรมการและทีมนำที่เข้มแข็ง วิเคราะห์และกำหนดปัญหาแบบมีส่วนร่วม มีแผนและงบประมาณสนับสนุน ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-06

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)