ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • รุจิพัชญ์ เพ็ชร์สินเดชากุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
  • สาริศา สืบจากดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้คำปรึกษา, การตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม , หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพการมีบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมของกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์โดยผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ ๆ จำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนกลุ่มควบคุมให้คำปรึกษาตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ และโปรแกรมการให้คำปรึกษาการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Pair sample t-test และ Independent sample t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพการมีบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพการมีบุตรกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การศึกษาครั้งนี้ พบว่าการให้คำปรึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ส่งผลให้ระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์การให้คำปรึกษาการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ต่อไป

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-11-20