ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพตามแนวเวชศาสตร์วิถีชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวเวชศาสตร์วิถีชีวิตป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมสุขภาพตามแนวเวชศาสตร์วิถีชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจาก 4 อำเภอ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 223 คน เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเวชศาสตร์วิถีชีวิตในระดับดีมาก ร้อยละ 52.5 (สัมพันธภาพ การหลีกเลี่ยงสารเสพติด การจัดการความเครียด และการนอนหลับอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ร้อยละ 83.4, 76.7, 67.7, 43.5 ตามลำดับ) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามแนว เวชศาสตร์วิถีชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 ได้แก่ ความรู้เวชศาสตร์วิถีชีวิต การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเข้าถึงการรับบริการด้านสาธารณสุข การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และบุคลากรด้านสุขภาพ (χ 2 =30.92, 12.38, 11.18, 35.73, 56.56 ตามลำดับ) ดังนั้นหน่วยงานด้านสาธารณสุขควรประชาสัมพันธ์ความรู้เวชศาสตร์วิถีชีวิตแก่ผู้สูงอายุ องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรใช้นโยบายสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุเข้าถึงได้ รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสร้างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรด้านสุขภาพ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กรมอนามัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.