ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน การเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ของบุคลากรในโรงพยาบาลสามพราน
คำสำคัญ:
โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ของบุคลากรในโรงพยาบาลสามพราน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรของโรงพยาบาล จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 27 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพและค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โรงพยาบาลสามพรานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้แก่บุคลากรในโรงพยาบาล โดยเน้นกระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.