แผนพัฒนาการการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ผ่านระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระดับจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงษ์ คำวิเศษณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข เกิดแผนปฏิบัติการการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข สาธารณภัยและภัยพิบัติ เกิดแนวทางการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข ผ่านกระบวนการการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านระบบบัญชาการเหตุการณ์และศูนย์ปฏิบัติการ     ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัด (Emergency Operations Center, EOC จังหวัด) ทำการศึกษาในผู้บริหาร และบุคลากรเครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต (ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (ICS) สำหรับโรคและภัยสุขภาพและศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC)) ในช่วงการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ ดำเนินการในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 112 คน  แบบสอบถามตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช 1.0 และ ผู้วิจัยนำมาตรวจวิเคราะห์และนำไปหาค่าทางสถิติ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สรุปผลคะแนนถ่วงน้ำหนักปัจจัยภายในและภายนอกจัดทำเป็นกราฟเรดาห์ เพื่อแสดงตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Strategic position) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 112 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุข 7 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 4 คน หัวหน้ากลุ่มงาน 13 คน สาธารณสุขอำเภอ 3 คน เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ 21 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ 18 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล จำนวน 46 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง Gen Y และ Gen X ตามลำดับ และมีบางส่วนประมาณ 20 คน อยู่ใน Gen Baby boomers (อายุ 55 ปีขึ้นไป) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.86 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด ทำให้องค์กรต้องเร่งสร้างบุคลากรที่มีองค์ความรู้และความเป็นมืออาชีพในการทำงานขึ้นมาทดแทน บุคลากร ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี โดยบุคลากรร้อยละ 0.89    จบการศึกษาระดับปริญญาเอก ร้อยละ 24.11 จบการศึกษาระดับปริญญาโท และร้อยละ 75  จบการศึกษาระดับปริญญาตรี บุคลากร ส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานในด้านสาธารณสุข และเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ EOC ตามภารกิจ ทั้งนี้ พบว่าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต มีตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการจัดทำแผนกตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีจุดแข็งสอดรับกับโอกาส จึงมุ่งเน้นกลยุทธ์เชิงรุก และนำกลยุทธ์เชิงแก้ไข เชิงป้องกันและเชิงรับมาประยุกต์ใช้ในบางกรณีนำมาซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน (1) กำหนดนโยบายส่งเสริมการลดความเสี่ยงต่อสาธารณภัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน (2) บูรณาการระบบและให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยอย่างครอบคลุมและ   มีประสิทธิภาพ (3) พัฒนาศักยภาพและกลไกการบริหารจัดการเชิงบูรณาการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินและสาธารณภัยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 3 เป้าประสงค์ 13 กลยุทธ์ 8 แผนงาน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2025-02-19

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)