การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพที่ส่งผลต่อภาวะอ้วนในวัยทำงาน (15 – 59 ปี)

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา วงค์จันทร์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ชลพันธ์ ปิยถาวรอนันต์ กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • ณัฐนันท์ แซมเพชร กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพ, ภาวะอ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพและ ความรอบรู้สุขภาพที่ส่งผลต่อภาวะอ้วนของวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยทำงานที่อยู่ในสถานประกอบการ ขนาดใหญ่ 1 แห่ง ในจังหวัดระยอง โดยเลือกแบบสะดวก และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงต้องอายุ 15 - 59 ปี มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./ม.2 จำนวน 186 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มละ 93 คน วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ Independent t-test และ paired t – test ระยะเวลาทำการวิจัย มิถุนายน 2564 – มิถุนายน 2565 ผลการศึกษาพบว่า ระยะหลังการทดลองกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลออนไลน์ มีดัชนีมวลกาย (x̄=26.35 SD=2.92, P<.05) ความรอบรู้สุขภาพ (x̄=141.97 SD=15.27, P<.05) การมีกิจกรรมทางกาย (x̄=1350.66 SD=804.62, P<.05) การบริโภคอาหาร (x̄=32.07 SD=2.54, P<.05) ความเครียด (x̄=2.44 SD=2.05, P<.05) และคุณภาพการนอน (x̄=4.98 SD=2.92, P<.05) ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและกลุ่มทดลองมีดัชนีมวลกาย ความรอบรู้สุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร ความเครียด และคุณภาพการนอนดีกว่าก่อนระยะทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าการเข้าร่วมการสร้างเสริมสุขภาพและความรอบรู้สุขภาพส่งผลให้ดัชนีมวลกาย ความรอบรู้สุขภาพ การมีกิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร ความเครียด และคุณภาพการนอนดีขึ้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2025-02-19

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)