การจัดการความรู้ เรื่อง สมการใหม่เพื่อประมาณค่า LDL-C เมื่อระดับ Triglycerides อยู่ในช่วง 400 – 1000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

Authors

  • Sirawich Sonsok

Abstract

บทคัดย่อ

           การประมาณค่า LDL-C ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ของกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลทุกระดับ แต่พบว่าวิธีประมาณค่าที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
มีข้อจำกัดเมื่อระดับ Triglycerides มากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีผู้ศึกษาวิธีประมาณค่า LDL-C จำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ แต่ก็มีเพียงจำนวนน้อยที่ระบุว่าวิธีประมาณค่าของตนจะใช้ได้เมื่อระดับ Triglycerides มากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการทดลองสร้างสมการประมาณค่าโดยอาศัยการการศึกษาวิธีประมาณค่า LDL-C การศึกษาแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้มีวิธีการศึกษา คือ นำผลการตรวจ Lipid profile ที่มีระดับ Triglycerides เกิน 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแต่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จำนวน 332 ราย มาทำการสร้างสมการประมาณค่า LDL-C ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุ หลังจากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบความสอดคล้องกับวิธีวัดค่าโดยตรง แล้วนำสมการมาคำนวณค่า LDL-C ทดสอบความสอดคล้องเทียบกับวิธีวัดค่าโดยตรงโดยสถิติ Weighted Kappa, Intraclass correlation และ การวิเคราะห์กราฟ Bland Altman  
ผลการศึกษา พบว่า สมการใหม่ให้ค่า Weighted Kappa เท่ากับ 0.55  ICC เท่ากับ 0.73 และผลการวิเคราะห์กราฟ Bland Altman พบว่า ได้ mean diff เท่ากับ 1.901 และ LOA เท่ากับ -54.3 – 58.1 เมื่อนำสมการของ Chen และ Dansethakul มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า สมการของ Chen ได้ค่า Weighted Kappa = 0.45, ICC = 0.65 และ mean diff = -7.46, LOA = -76.3 – 61.4  สมการของ Dansethakul ได้ค่า weighted Kappa = 0.47, ค่า ICC = 0.62  และ mean diff = 19.67, LOA = -57.3 – 96.7 โดยสรุปแล้วการประมาณค่า LDL-C ด้วยสมการใหม่มีความสอดคล้องกับการวัดค่า LDL-C โดยตรงในระดับปานกลางถึงดี และดีกว่าสมการของ Chen และ Dansethakul และ ในการศึกษาครั้งต่อไป หากได้ทำการศึกษาอย่างลึกซึ้งมากขึ้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะสามารถประมาณค่า LDL-C ได้ แม้ในผู้มีระดับ Triglycerides สูง

Published

2019-08-06

Issue

Section

Genaral Article (บทความทั่วไป)