Editorial
Abstract
บทบรรณาธิการ
วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามฉบับที่สิบหกนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของบุคลากรสาธารณสุข พัฒนาวิชาการให้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการในระดับสากล พร้อมทั้งเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระดับกระทรวงสาธารณสุขและระดับหน่วยงานด้านการศึกษา โดยกำหนดให้เป็นวารสารราย 4 เดือน จัดพิมพ์ในรอบเดือนมกราคม พฤษภาคม และกันยายน งานวิจัยที่มีความสำคัญ ได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) จำนวน 24 เรื่อง ปกิณกะ (Miscellany) จำนวน 1 เรื่อง ประกอบด้วย 1) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพมาตรฐานน้ำดื่มของสถานที่ผลิตน้ำดื่มในจังหวัดชัยภูมิ 2) การพัฒนาระบบบริการคลินิก
เบาหวานแบบวิถีใหม่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 3) ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการกลืนต่อความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง 4) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 5) รูปแบบระบบประกันสุขภาพของโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12 6) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตแบบบูรณาการจังหวัดมหาสารคาม 7) ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 8) ปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนแต้ ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 9) การวิจัยและพัฒนารูปแบบการให้บริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ จังหวัดมหาสารคามบนแพลตฟอร์มดิจิทัล 10) ความร่วมมือในการรับประทานยา
ต้านไวรัสเอชไอวีในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย 11) ถอดบทเรียนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขากัญชา จังหวัดกาญจนบุรี
12) การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตโดยใช้สถานีสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 13) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี 14) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยระบบทางด่วนโรงพยาบาลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม 15) การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรพยาบาล 16) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม 17) การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 18) การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย 19) การพยาบาล
ผู้คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา 20) ประสิทธิผลของการพยาบาลห้ามเลือดหลังถอดท่อนำสายสวนหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบร่วมกับการใช้อุปกรณ์ช่วยกดห้ามเลือด ในผู้ป่วยทำหัตถการตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลตรัง : การศึกษานำร่อง21) การพยาบาลผู้ป่วยภาวะเลือดออกในโพรงสมองที่ได้รับการผ่าตัดใส่สายระบายและผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลังจากโพรงสมองสู่เยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย 22) การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด
23) การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในตำบลบ้านเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 24) ประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลังถ่ายโอนภารกิจแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และ 25) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในสถานพยาบาลผ่านศิลปะการจัดดอกไม้อิเคบานะ
ทั้งนี้ ขอกราบขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ที่ให้ข้อแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขให้งานวิจัยมีคุณภาพมากขึ้น
ซึ่งมุ่งหวังให้วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เข้าสู่มาตรฐานทางวิชาการ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและการเผยแพร่ผลงานให้มีการใช้ประโยชน์ที่มากขึ้น เพื่อการพัฒนางานสาธารณสุขต่อไป
ดร.สงัด เชื้อลิ้นฟ้า
บรรณาธิการ
วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม