ตัวแปรและแบบประเมินที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • เทพฤทธิ์ บัวภา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) โดยการสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ PubMed ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2540 ถึง 2559 โดยใช้คำค้น (search strategy) ที่ครอบคลุมการดูแลและการฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง จากนั้นคัดชื่อเรื่องและบทคัดย่อที่ไม่เกี่ยวข้องออกโดยผู้ร่วมวิจัย และรวบรวมตัวแปรจากบทความฉบับเต็มตามเกณฑ์การคัดเข้าสรุปให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งประกอบด้วย แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย พยาบาล ตำแหน่งละ 1 คน เพื่อประเมินตัวแปรใน 2 แง่มุม คือ ความสำคัญทางคลินิก (Clinical Importance) และความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Feasibility) พบว่า จากงานวิจัยทั้งหมด 118 เรื่อง มี 16 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มี 66 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
โดยสามารถจัดได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป 31 ตัวแปร, แบบประเมิน 19 ชนิด และอาการร่วม 16 ตัวแปร ประเมินความสำคัญทางคลินิกและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญ พบตัวแปรที่มีความสำคัญและมีความเป็นไปได้ 51 ตัวแปร, มีความสำคัญแต่มีความเป็นไปได้ยาก 2 ตัวแปร, ไม่มีความสำคัญแต่มีความเป็นไปได้ 1 ตัวแปร และไม่มีความสำคัญและเป็นไปได้ยาก 18 ตัวแปร การทบทวนอย่างเป็นระบบ พบตัวแปรที่จำเป็นในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความสำคัญทางคลินิก และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่ไม่พบตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ฟื้นฟู ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองด้วยการแพทย์แผนไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากด้วยแนวทาง กระบวนการรักษาของการแพทย์แผนไทยยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาอย่างเป็นรูปธรรม และยังขาดกระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการศึกษา โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) จึงเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาการวิจัยด้านการดูแล รักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดสมองต่อไป

 

คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง, ตัวแปร, ความสำคัญทางคลินิก, ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)