การพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อรรถวุฒิ พรมรัตน์ โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           ภาวะหัวใจหลอดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome : ACS) ถือเป็นการเจ็บป่วยวิกฤติและฉุกเฉินจากการอุดตันเฉียบพลันของหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงหัวใจเป็นภาวะที่ต้องได้รับความดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อลดอัตราตายที่จะเกิดขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม วิธีการศึกษา : รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ระยะเวลาศึกษา ปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม พ.ศ. 2561 - กันยายน พ.ศ. 2562) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาแบบเจาะจง ได้แก่ ทีมสหวิชาชีพ
ในโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพจาก รพ.สต. ทุกแห่ง และกลุ่มผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหลอดเลือดเฉียบพลัน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการเข้าถึงบริการ แบบประเมินการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินอาการเจ็บหน้าอก โปรแกรม ACS Registry (UCHA) แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
โดยจำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าและใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการศึกษา แนวทางดูแลและส่งต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) ประกอบด้วย 1) การประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บหน้าอก (Rapid screening) ตั้งแต่รพ.สต./แรกรับที่ ER ทั้งกลุ่ม Trypical/Atrypical
2) เสริมสร้างความรู้แก่พยาบาลในการอ่าน/แปลผล EKG เบื้องต้นและการให้ยาละลายลิ่มเลือด 3) การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ที่เพียงพอและประกันเวลาในการตรวจ เช่น EKG, Troponin-T 4) การจัดทำแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบท ได้แก่ CPG ใน รพ.สต./รพ., เกณฑ์การส่งต่อ 5) พัฒนาระบบการ Consult ทาง Line กับ รพ.แม่ข่าย และศูนย์หัวใจสิริกิตต์ (Refer by pass) ประเมินผล พบว่า ทีมสหวิชาชีพมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่เพียงพอพร้อมใช้ ผู้ป่วยได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่รวดเร็วทันเวลา ด้านการดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า ปีงบประมาณ 2561 - 2562 พบว่า 1) ผู้ป่วย Onset to needle น้อยกว่า 6 ชม. ร้อยละ 60, 85.71 2) ผู้ป่วย STEMI (DTN) น้อยกว่า  30 นาที ร้อยละ 60, 85.71 3) ผู้ป่วยวินิจฉัยถูกต้อง ร้อยละ 100, 100 4) อุบัติการณ์การเสียชีวิตด้วย AMI 1, 0 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวทางที่พัฒนาขึ้นเกิดจาการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เกิดการพัฒนาจากการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพทำให้เกิดการดูแลที่เหมาะสมกับศักยภาพของโรงพยาบาลทำให้รักษาส่งต่อได้ทันเวลา  

 

คำสำคัญ : ดูแล,ส่งต่อ,โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)