ความสัมพันธ์ของระดับ prostate-specific antigen ในเลือดกับผลตรวจพยาธิวิทยาของมะเร็ง ต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ ภูนาขาว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

           ความสำคัญและที่มา : มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 4 ในประเทศไทย ปัจจุบันมีการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยใช้สารบ่งชี้มะเร็งในเลือด คือ prostate-specific antigen (PSA) แต่ยังไม่เคยมีการประเมินการใช้ PSA ในการช่วยวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลมหาสารคาม

           วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ PSA ในเลือดกับผลทางพยาธิวิทยาของมะเร็งต่อมลูกหมากและประเมินความสามารถของiPSAiในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ในโรงพยาบาลมหาสารคาม

           วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยชาย จำนวน 80 ราย ที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2564 หาความสัมพันธ์ของระดับ PSA กับผลตรวจทางพยาธิวิทยา และประเมินความสามารถในการวินิจฉัยโดยการหาค่า sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value, accuracy, likelihood ratio for positive test (LHR+), likelihood ratio for negative test (LHR-) และ พื้นที่ใต้โค้ง ROC curve (AUC)

           ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายจำนวน 80 ราย มีอายุตั้งแต่ 50 ถึง 79 ปี อายุเฉลี่ย 66.8 ± 6.56 ปี มีค่า PSA ตั้งแต่ 0.31 ถึง 244.00 ng/mL เฉลี่ย 47.69 ± 48.896 ng/mL
เป็นมะเร็ง 40 ราย (ร้อยละ 50.0) โดยเป็นชนิด adenocarcinoma ทั้งหมด ผู้ป่วยที่เหลือเป็น chronic inflammation จำนวน 3 ราย (ร้อยละ 3.8) และเป็น nodular hyperplasia จำนวน 37 ราย (ร้อยละ 46.2) ค่า PSA > 10 ng/mL และ > 20 ng/mL มีความสัมพันธ์กับผลตรวจพยาธิวิทยาที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และค่า cut-off ที่ 20 ng/mL มีค่าความสามารถในการวินิจฉัยที่มากและเหมาะสมกว่าค่า cut-off อื่นๆ นอกจากนี้ PSA ยังมีความแม่นยำในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากในระดับดีมาก (พื้นที่ใต้โค้ง ROC curve เท่ากับ 0.919, 95%CI เท่ากับ 0.856-0.983,  p-value < 0.001)

           วิจารณ์และสรุป :  การศึกษานี้ พบว่า เมื่อใช้ค่า cut-off ที่ค่าต่างๆ PSA จะมีความสามารถในการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากที่แตกต่างกัน โดย cut-off ที่ 20 ng/mL เป็นจุดที่เหมาะสมมากที่สุดในการนำไปใช้ประโยชน์ทางคลินิกในด้านการช่วยวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

           คำสำคัญ : มะเร็งต่อมลูกหมาก, ความสามารถในการวินิจฉัย, โรงพยาบาลมหาสารคาม, prostate-specific antigen, Serum PSA

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-17

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)