ผลการรักษาผู้ป่วยเบาหวานในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โรงพยาบาลวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เพชรดา ฉ่ำมณี

บทคัดย่อ

                                                                                                                        บทคัดย่อ

           จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2564 โรงพยาบาลวาปีปทุม ได้มีโครงการส่งยาถึงบ้านในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังบางส่วนตามความสมัครใจ เพื่อลดการแออัด  และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” โดยเริ่มมีการจัดส่งยาที่บ้านโดยทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำบ้าน ตั้งแต่     1 ตุลาคม 2563 ซึ่งใน ปี 2564 มีการส่งยาถึงบ้านให้ผู้ป่วยตามวันนัดหมายรายละ 1-2 ครั้ง ซึ่งไม่ต้องมาพบแพทย์ประมาณ 3-6 เดือน

          วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกในการการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานระหว่างกลุ่มที่รักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลวาปีปทุม ระหว่างปี 2563 รับยาที่ โรงพยาบาล กับปี 2564 ได้รับการส่งยาที่บ้าน โดยการเลือกแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงคุณภาพนำเสนอโดยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิกในการควบคุม       เบาหวานระหว่างช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่โรงพยาบาลในปี 2563 และช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่บ้านในปี 2564 โดยใช้ Paired t-test ในการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยกำหนดระดับ นัยสำคัญที่ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีอายุเฉลี่ย 61.5±10.0 ปี ระยะเวลาเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ย 7.8±3.1 ปีและส่วนใหญ่มีประวัติโรคร่วมอื่น ผลลัพธ์ทางคลินิกในการควบคุมเบาหวานที่สนใจศึกษาได้แก่ HbA1C, FBS, LDL และ eGFR ของผู้ป่วยเบาหวานในปี 2563 และ 2564

          ผลการสำรวจพบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่มี HbA1C <7 %, FBS <130 มก./ดล.  , LDL<100 มก./ดล., eGFR ≥90 ml/min/1.73m2 ใน ปี 2563 เท่ากับ 25.8%, 28.4%, 32.3% และ 56.3% ตามลำดับ และ สัดส่วนของผู้ป่วยเบาหวานที่มี HbA1C <7 %, FBS <130 มก./ดล. , LDL<100 มก./ดล., eGFR ≥90 ml/min/1.73 m2 ในปี 2564 เท่ากับ 22.7%, 31.9%, 34.3%, และ 58.1% ตามลำดับ  

          เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ทางคลินิกในการควบคุมเบาหวานระหว่างช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่โรงพยาบาลในปี 2563 และช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่บ้านในปี 2564    พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับ HbA1C, LDL และ eGFR ระหว่างช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่โรงพยาบาลในปี 2563 และช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่บ้านในปี 2564 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.880, p = 0.453 และ p = 0.280 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า (FBS) ระหว่างช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่โรงพยาบาลในปี 2563 และช่วงที่ผู้ป่วยเบาหวานรับยาที่บ้านในปี 2564 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.015) เป็นโอกาสพัฒนาระบบบริการส่งยาถึงบ้านลดความแออัดใน             โรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วย ซึ่งควรติดตามการดูแลต่อในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ : เบาหวาน, ส่งยาถึงบ้าน, โควิด-19

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)