ผลของการปฏิบัติด้วยวิธีผสมผสานเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและ ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • อัษฎางค์ สุทนต์

บทคัดย่อ

                                                                                                                        บทคัดย่อ

            การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดสองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้การปฏิบัติด้วยวิธีผสมผสานเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย พยาบาล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานประจำหอผู้ป่วย และพนักงานเปล จำนวน 149 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้และทักษะการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา แบบประเมินความพึงพอใจการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสถิติที (Dependent-t test)  

            ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และทักษะภายหลังใช้การปฏิบัติด้วยวิธีผสมผสานเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อดื้อยาสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05)

            ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (M = 3.92, SD. = 0.755) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างคิดว่าแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลมีประโยชน์ต่อหน่วยงานมากที่สุด (X = 4.23, SD. = 0.772)

 

คำสำคัญ : เชื้อดื้อยา  การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)