การพัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • อลิสา รัฐวงษา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคโควิด-19  ดำเนินการ มีนาคม-ธันวาคม 2564 มี 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ ดำเนินการ และประเมินผล ผู้ร่วมพัฒนา คือ สหวิชาชีพ 65 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโควิด 19 หลังจำหน่าย 871 ราย เครื่องมือวิจัย
1) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม 2) ร่างแนวทางดูแลต่อเนื่อง 3) แบบบันทึกติดตามดูแล 4) ชุดข้อมูลความรู้ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย วิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าแนวทางดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโควิด-19 ไม่ชัดเจน ขาดสถานที่และอุปกรณ์ดูแล ผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลตัวเอง บุคลากรขาดความมั่นใจ ชุมชนไม่ยอมรับผู้ป่วย ได้พัฒนาตามกรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก ด้วยนโยบายการบริหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดฉุกเฉิน จัดทีมดูแลและผู้จัดการดูแลต่อเนื่องระดับอำเภอ สร้างเครือข่ายและศูนย์พักคอยระดับตำบล พัฒนาศักยภาพทีมผู้ดูแล การเตรียมครอบครัวและชุมชนเพื่อรับผู้ป่วยกลับ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จัดบริการตามแนวทางดูแล การรับส่ง ติดตามเยี่ยม ให้การพยาบาล และส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งระบบสารสนเทศ และช่องทางสื่อสาร เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น และปรับแนวทางการดูแลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโควิด- 19 พบว่า ส่งผลลัพธ์ที่ดี ชุมชนยอมรับผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน ผู้ป่วยทุกรายได้รับการดูแลต่อเนื่องตามแนวทาง ส่วนใหญ่อาการดีขึ้น อัตรานอนรักษาซ้ำ ร้อยละ 0.44 ไม่มีผู้เสียชีวิตในชุมชน คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 74.06 เป็น 96.22 ข้อเสนอแนะ การพัฒนาระบบดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโควิด- 19 ควรเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และพัฒนาแนวทางการดูแลอาการหลงเหลือจากโควิด-19

 

คำสำคัญ : ระบบดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยโรคโควิด-19, ระบบสุขภาพ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)