การพัฒนาและประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลในยุค New Normal แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลผู้ป่วยนอกในยุค New Normal ระดับความพึงพอใจผู้ใช้แนวปฏิบัติ และผู้รับบริการฯ ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 - สิงหาคม 2565 ประชากรกลุ่มที่ 1 พยาบาล
ที่ปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านผือ 16 คน กลุ่มที่ 2 ผู้มารับบริการที่มาใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบ้านผือ สุ่มตัวอย่างแบบ
แบ่งชั้น (Stratificd Random Sampling) 280 คน ดำเนินการตามรูปแบบ PDCA 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน โดย Focus group 2) ความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติฯ และผู้รับบริการ 3) ใช้แบบสอบถาม AGREE II 4) นำผลวิจัยไปพัฒนางาน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pair Sample T-test
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพแนวปฏิบัติรายหมวดทั้ง 6 หมวดมีคะแนนมากกว่า 50% มีหมวดที่มีค่าความเป็นไปได้มากที่สุด คือ หมวดที่ 5 การนำไปใช้ (74%) หมวดที่มีค่าน้อยที่สุด คือ หมวดที่ 1 ขอบเขตและวัตถุประสงค์ (68%) ความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับมาก ( = 4.1, S.D. = 0.5) ความพึงพอใจหลังใช้แนวปฏิบัติมากกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .05 ความพึงพอใจผู้รับบริการที่ได้รับบริการจากพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีอยู่ในระดับมาก ( = 4.0, S.D. = 0.8)
ข้อเสนอแนะ เป็นแนวทางการพัฒนาแนวปฏิบัติในแผนกอื่นๆ ในโรงพยาบาล บุคลากรมีแนวปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน มุ่งสู่การพัฒนา
การบริหารที่เป็นเลิศต่อไป
คำสำคัญ : การพัฒนา, การประเมิน, แนวปฏิบัติ New Normal