การประเมินการดำเนินงานของศูนย์รับส่งต่อในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุทธิมา ยลโสภณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยการประเมินการดำเนินงานของศูนย์รับส่งต่อในจังหวัดขอนแก่น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของศูนย์รับส่งต่อ ปัญหาอุปสรรค
และข้อเสนอแนะการดำเนินงานของศูนย์รับส่งต่อในจังหวัดขอนแก่น โดยการสุ่มบุคลากรในระบบส่งต่อ แบบแบ่งชั้นภูมิและแบบเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย
ผู้บริหารเชิงนโยบาย, คณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อจังหวัดขอนแก่น, ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ส่งต่อและผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องในระบบส่งต่อผู้ป่วย รวมทั้งหมด 178 คน โดยใช้ แบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด แบ่งตามกลุ่มตัวอย่าง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคความเชื่อมั่น 0.96 ศึกษาตั้งแต่เดือน มกราคม 2565 ถึง กันยายน 2565 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา กลุ่มผู้บริหารเชิงนโยบาย มีความคิดเห็นต่อด้านบริบท, ปัจจัยนำเข้า และกระบวนการในระดับมาก ( = 4.14 (0.57),   = 3.93 (0.14), = 4.01 (0.53)) ส่วนด้านผลผลิต พบว่าไม่มีการปฏิเสธการส่งต่อภายในเขตมากที่สุด (ร้อยละ 100) กลุ่มคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อจังหวัดขอนแก่น พบว่ามีความคิดเห็นต่อด้านบริบท, ปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ( = 3.80 (0.76), = 3.66 (0.57),  = 3.64 (0.57))
ส่วนด้านผลผลิต พบว่า ความสำเร็จของศูนย์รับส่งต่อในการดำเนินงานรับและส่งต่อผู้ป่วยระดับจังหวัดได้ตามเป้าหมายที่กำหนด และมีแนวทางปฏิบัติ
ในการรับและส่งต่อผู้ป่วยชัดเจน (ร้อยละ 100)

            กลุ่มผู้ปฏิบัติงานศูนย์รับส่งต่อ พบว่ามีความคิดเห็นต่อด้านบริบท, ปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ( = 3.91 (0.52), = .3.78 (0.54), = 3.79 (0.56)) ส่วนด้านผลผลิต พบว่าศูนย์ส่งต่อมีแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพการรับส่งต่อผู้ป่วยตาม Service plan ร้อยละ 100

            กลุ่มผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องในระบบส่งต่อผู้ป่วย พบว่ามีความคิดเห็นต่อด้านบริบทอยู่ในระดับมาก ( = 3.70 (0.57)) ด้านปัจจัยนำเข้า
และกระบวนการ มีความคิดเห็นด้วย ในระดับปานกลาง ( = 3.25 (0.57), = 3.23 (0.76)) ส่วนด้านผลผลิต พบว่าศูนย์ส่งต่อมีการจัดการประชุม
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาระบบส่งต่อ และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของศูนย์รับส่งต่อ (ร้อยละ 84)

คำสำคัญ : การประเมิน, ศูนย์รับส่งต่อ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)