ผลของการใช้แนวทางการนัดติดตามความดันโลหิตเพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • ปิยพงษ์ ชินสุทธิ์ Kosumphisai Hospital Mahasarakhampa Provincial

บทคัดย่อ

ความดันโลหิตสูง คือ ภัยเงียบและเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเป็นปัจจัยสำคัญหลักในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรทั่วโลก ดังนั้นการคัดกรองความดันโลหิตให้มีความครอบคลุมมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะ
ความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยและดูแลอย่างรวดเร็วทันเวลาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและหลอดเลือดการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการคัดกรองผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มที่ได้รับใบนัดติดตามความดันโลหิตและกลุ่มที่ไม่ได้รับใบนัดติดตามความดันโลหิต โดยเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (Randomized controlled trial) เปรียบเทียบ 2 กลุ่ม โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 215 ราย ศึกษาในระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ไม่ได้ใบนัด) มีจำนวน 16 คน จาก 108 คน (ร้อยละ 14.81) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ได้ใบนัด) จำนวน 36 คน จาก 107 คน (ร้อยละ 33.64) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง การให้ใบนัดวัดความดันโลหิต ช่วยให้ผู้ที่มีความดันโลหิต ≥ 140/90 mmHg เข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น 2.27 เท่า [95%CI 1.34 – 3.83] ดังนั้น ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูงจึงควรได้รับใบนัดติดตามความดันโลหิตทุกราย

 

คำสำคัญ : การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง, การนัดติดตามความดันโลหิต, โรคความดันโลหิตสูง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)