ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ รพ.มหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รัศมี เกตุธานี Maha Sarakham Hospital Maha Sarakham Province

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษา ผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก ขณะนอนรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อหญิงโรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 124 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 62 ราย และกลุ่มควบคุม 62 ราย สองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Pretest -Posttest Control Group Design) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ดูแล แบบประเมินความเสี่ยงด้านร่างกายต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน และแบบประเมินการเกิดแผลกดทับของ Bergstrom วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ สถิติ Paired t–test

ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลเพื่อป้องกันแผลกดทับ ในด้านการดูแลผิวหนังและการรักษาความสะอาด การช่วยเหลือด้านการเคลื่อนไหว และการดูแลเรื่องอาหารและน้ำของกลุ่มทดลอง ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < .05) นอกจากนี้ยังพบว่า อุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุม

 

คำสำคัญ : โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับโรงพยาบาลมหาสารคาม
ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหัก แผลกดทับ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)