ความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกกับ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ บุคลากรโรงพยาบาลพังงา

ผู้แต่ง

  • ศุภนิตย์ วานิช Phang Nga Hospital, Phang Nga Province

บทคัดย่อ

คำนำ : ดัชนีมวลกาย สัดส่วนรอบเอวรอบสะโพกสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายสัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกกับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ บุคลากรโรงพยาบาลพังงา

วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (retrospective study design) ในบุคลากรโรงพยาบาลพังงา อายุมากกว่า 35 ปี ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ในช่วงวันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564 จำนวน 226 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน Student’s  t-test, One way ANOVA , Pearson product moment correlation coeffiecent

ผลการศึกษา : ดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับปานกลางกับน้ำตาลในเลือด (FBS) (r = .36, p-value = .000) ไขมัน Triglyceride (r = .36, p-value = .000) มีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับต่ำกับกรดยูริกในเลือด (Uric) (r = .27, p-value = .000) การทำงานของตับ (SGPT) (r = 2.93, p-value = .000) , ALK (r = .22, p-value = .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก มีความสัมพันธ์ด้านบวกระดับต่ำกับน้ำตาลในเลือด (FBS) (r = .29, p-value = .000) กรดยูริกในเลือด (Uric) (r = .27, p-value = .000) ไขมัน Triglyceride (r = .20, p-value = .002) การทำงานของตับ SGPT (r = .21, p-value = .001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

สรุป : การมีดัชนีมวลกายสูง สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกมากมีความสัมพันธ์กับการมีน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ยูริกในเลือดสูง และส่งผลให้การทำงานของตับลดลงด้วย จึงควรรณรงค์ส่งเสริมให้บุคลากรโรงพยาบาลพังงาและประชาชนทั่วไปลดการบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลลงให้มาก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดีในโอกาสต่อไป

 

คำสำคัญ : ดัชนีมวลกาย สัดส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-18

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)