กระบวนการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการ พชอ.นาดูน โดยการมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • Jariya Sikongplee วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทนำ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและพัฒนารูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการ พชอ.นาดูน โดยการมีส่วนร่วม ของอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาการดำเนินงาน พชอ. ของอำเภอนาดูน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการ พชอ.นาดูน โดยการมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย คณะกรรมการและอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และผู้แทนส่วนราชการในเขตอำเภอนาดูน และตัวแทนสถานบริการสุขภาพในเขตอำเภอนาดูน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามการมีส่วนร่วม และแบบประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ UCCARE ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการแจกแจงความถี่และอธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง

ผลการศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการดำเนินงาน ด้านคณะกรรมการขาดความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่ ด้านงบประมาณ การบริหารงบประมาณ ขาดประสิทธิภาพ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร แผนการพัฒนาบุคลากรไม่ชัดเจน และการจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรไม่ตรงตามแผน 2. รูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคณะกรรมการ พชอ.นาดูน โดยการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) การคืนข้อมูลสู่ชุมชน และ 4) การถอดบทเรียน ดังนั้น การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อน โดยอาศัยหลักการพื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง “คนนาดูนฮักแพงเบิ่งแยงกัน”

สรุป รูปแบบกระบวนการขับเคลื่อนประเด็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอโดยการมีส่วนร่วม จากการดำเนินงานโดยรูปแบบการดำเนินงานใหม่มีปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย

 

คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คุณภาพชีวิต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)