ความชุกของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกคลอดครบกำหนดใน โรงพยาบาลแม่สะเรียงและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐวดี นันตา วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุกของภาวะตัวเหลืองในทารกคลอดครบกำหนดและศึกษาปัจจัยเสี่ยงในการเปลี่ยนถ่ายเลือดของทารกคลอดครบกำหนดที่มีค่าเหลืองสูงมาก

 วิธีการศึกษา : วิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลแม่สะเรียง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 วินิจฉัยว่ามีภาวะตัวเหลืองโดยกุมารแพทย์ เก็บข้อมูลทั่วไปและผลเลือดของทารกรวมถึงมารดา วิธีการรักษา สาเหตุของการเกิดภาวะตัวเหลือง นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และนำข้อมูลวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงภาวะตัวเหลืองที่มีค่าบิลิรูบินสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของภาวะตัวเหลืองด้วยค่าไคสแควร์

ผลการศึกษา : ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลือง จำนวน 368 คน จากทารกคลอดครบกำหนด 2,411 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ระดับไมโครบิลิรูบินเฉลี่ย 14.43 สาเหตุของภาวะตัวเหลืองมากที่สุด คือ ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ 153 คน (ร้อยละ 41.6) ทารกได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟทั้งหมด และมี 63 คน (ร้อยละ 17.1) ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟแบบเข้มข้น ทารก 11 คน (ร้อยละ 3) ได้รับการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด ทารก 2 ราย มีภาวะ kernicterus พบว่าเชื้อชาติเป็นปัจจัยเสี่ยงที่รักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.01

สรุป : ความชุกของภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลแม่สะเรียง คือ ร้อยละ 15 เชื้อชาติเป็นเสี่ยงภาวะตัวเหลืองที่มีค่าบิลิรูบินสูงรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือดนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

คำสำคัญ : อาการตัวเหลืองของทารกแรกเกิด, ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)