การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในคลินิก : กรณีศึกษา
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
กรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ : ศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ในคลินิกงานผู้ป่วยนอก
วิธีการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตรัง ดำเนินการศึกษา ระหว่างวันที่
1 กันยายน พ.ศ. 2566 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์ สังเกต และเวชระเบียน
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีความเหมือนและความแตกต่างกันในด้านปัจจัยต่างๆ ดังนี้
การวินิจฉัยโรค พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีสาเหตุเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) ผู้ป่วยรายที่ 1 มีประวัติเป็นโรคหัวใจสั่นพลิ้ว (Atrail Fibrillation) และมีลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (Mitral Stenosis) ผู้ป่วยรายที่ 2 มีภาวะผิดปกติของหลอดเลือดพบ LV Thrombosis
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยรายที่ 1 มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น เหนื่อยง่าย เมื่อออกแรง functional class II Echocardiogram พบ severe MS, LVEF 14% ผู้ป่วยรายที่ 2 มาด้วยเหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ เท้าบวม ปวดแน่นท้อง เจ็บหน้าอก ใจสั่น functional class III-IV ตรวจ Echocardiogram พบ Severely imparired LV systolic function, LV thrombus LVEF 30% กรณีศึกษาทั้ง 2 รายมีความต่างกันจากพยาธิสภาพของภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาที่ต่างกัน พบว่าผู้ป่วยรายที่ 1 ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพื่อแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดโรค ผู้ป่วยรายที่ 2 ปฏิเสธการรักษาโดยการฉีดสี การรับรู้และการดูแลตนเองต่างกัน
สรุป : บทบาทพยาบาล มีความสำคัญในการประเมินปัญหาผู้ป่วยก่อนและหลังพบแพทย์ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจพยาธิสภาพของโรค ประเมินความรู้ในการดูแลตนเองและอาการเปลี่ยนแปลงเฉพาะโรคได้แนะนำการปฏิบัติตัว ป้องกัน รักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง หรือสาเหตุของการทำงานผิดปกติของหัวใจอันจะนำสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
คำสำคัญ : ภาวะหัวใจล้มเหลว, การรับรู้และการดูแลตนเอง