การพยาบาลผู้ป่วย metformin associated lactic acidosis (MALA) ที่ได้รับการรักษา ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อุษาวดี สุทธิประภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            ภาวะเลือดเป็นกรดแลคติกจากการใช้ยา Metformin เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีอุบัติการณ์ค่อนข้างต่ำ แต่หากเกิดแล้วมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การรักษาระยะวิกฤตเพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีคือการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม   

            วิธีการศึกษา : ศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนกันยายน - ตุลาคม 2566 ในผู้ป่วย Metformin Associated Lactic Acidosis (MALA) ที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วย
เครื่องไตเทียม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด          

            ผลการศึกษา : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ประวัติเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาด้วยยา Metformin และมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงอายุ 52 ปี มาด้วยอาการอาเจียน 3 ครั้ง ถ่ายเหลว 3 ครั้ง ไม่มีไข้ เบื่ออาหาร
1 ชั่วโมง เหนื่อยเพลียมากขึ้น ตัวเย็น ซึมลง จึงมาโรงพยาบาล  ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหลังรับไว้รักษา
37 ชั่วโมง รวมฟอกเลือด 2 ครั้ง รายที่ 2 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 68 ปี มีอาการนำมาด้วยอาการไม่พึงประสงค์จากยา มีถ่ายเหลว 4 ครั้ง อาเจียน ต่อมาปัสสาวะไม่ออก ร่วมกับมีภาวะ shock ได้รับการฟอกเลือดแบบเร่งด่วนหลังรับไว้รักษา 8 ชั่วโมง รวมฟอกเลือด 2 ครั้ง ผลการรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ปลอดภัยจากภาวะเลือดเป็นกรดรุนแรง และ Acute kidney injury ได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาลจนย้ายออกจากหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม จำหน่ายกลับบ้านได้
รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล 10 วัน

            สรุป : การรักษาภาวะ Metformin Associated Lactic Acidosis (MALA) ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างรวดเร็วจะช่วยกำจัดกรดแลคติกที่เกินออกและลดภาวะเลือดเป็นกรด ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ พยาบาลไตเทียมจึงต้องมีความรู้ ความชำนาญในการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลเพื่อให้การฟอกเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งระหว่างการฟอกเลือดและหลังการฟอกเลือด

 

คำสำคัญ : Metformin, Lactic Acidosis, การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)