การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้น : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • จุธาลักษณ์ แก้วมะไฟ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ศึกษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมในระยะวิกฤต โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้น 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือแบบบันทึกและแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านสุขภาพ
ของกอร์ดอน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ สังเกต การสนทนา การศึกษาเอกสาร ผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง
2 กรณี มีอาการนำมาโรงพยาบาลเหมือนกันคือ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ได้รับการวินิจฉัยเลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้นร่วมกับภาวะช็อค ได้รับการส่องกล้องดูทางเดินอาหาร กรณีที่ 1 พบ Bleeding gastric ulcer หยุดเลือดออกด้วยวิธี Adrenalin injection กรณีที่ 2 พบ Esophageal varices grade 3 หยุดเลือดด้วยวิธี Blanding ligation ระหว่างรับไว้ในความดูแลผู้ป่วยมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 4 ระยะดังนี้ 1) ระยะวิกฤตฉุกเฉิน ได้แก่ การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง ปริมาตรเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลง เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายในการส่องกล้องดูทางเดินอาหารส่วนต้น สูญเสียพลังอำนาจ 2) ระยะกึ่งวิกฤต ได้แก่ ได้รับสารอาหารน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย
3) ระยะฟื้นฟู ได้แก่ ไม่สุขสบายเนื่องจากการเจ็บป่วยรุนแรงและการรักษาในภาวะวิกฤต และ 4) ระยะจำหน่าย ได้แก่ มีโอกาสเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ ปัญหาต่างๆ ได้รับการแก้ไข สามารถบ้านได้ กรณีที่ 1 จำหน่าย 31 ตุลาคม 2566 นอนรักษาในโรงพยาบาล 18 วัน กรณีที่ 2 จำหน่าย 28 ตุลาคม 2566 นอนรักษาในโรงพยาบาล 6 วัน ดังนั้นควรพัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อบ่งบอกถึงบริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ

 

คำสำคัญ: การพยาบาล, เลือดออกระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)