ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • อารยา พิทักษ์โรจนานนท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 103 คน โดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยทั่วไปใช้สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาที่มารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง  โดยการวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร โดยใช้สถิติ binary logistic regression

            การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการมาโรงพยาบาล พบว่า ผู้ที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษามีโอกาสมาโรงพยาบาลไม่ทันมากกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษาถึง 3 เท่า (ORcrud = 3.30) ผู้ที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสมาโรงพยาบาลไม่ทันเวลามากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว 3 เท่า (ORcrud = 3.27) และผู้ที่มีสถานที่ที่อาการในบ้าน มีโอกาสมาโรงพยาบาลไม่ทันเวลามากกว่าผู้ที่มีอาการนอกบ้านถึง 4 เท่า (ORcrud = 4.39) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ เพศ อายุ เวลาที่มีอาการ การรับรู้อาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่มาโรงพยาบาล

            ข้อเสนอแนะ : ควรมีการเตรียมระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี และผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลและในชุมชน ควรมีการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปทั้งในและนอกโรงพยาบาล

 

คำสำคัญ  : แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน, ระยะเวลาการมารับบริการที่โรงพยาบาล

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)