การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ทวิกานต์ รักสวนจิก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                  การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
ด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) บุคลากร ได้แก่ เภสัชกร พยาบาล พยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และนักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 12 คน และ 2) ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด คัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 51 คน ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ เตรียมการ พัฒนานำรูปแบบไปใช้ และประเมินผล
เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ คู่มือ และรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
1) แบบประเมินความรู้ 2) แบบประเมินการปฏิบัติตามระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

            ผลการศึกษา ระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ด้วยระบบทางด่วนประกอบด้วย ด้านโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ หลังนำไปใช้พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 27.25 เป็น 44.75 ผู้ป่วยเข้าระบบการดูแลในช่องทางด่วน เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 64.86 เป็น 100 เจาะเลือดส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง และการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 30 ml./kg./hr ร้อยละ 100 และไม่พบเสียชีวิต
การปฏิบัติตามรูปแบบ ร้อยละ 100 ความพึงพอใจบุคลากรอยู่ในระดับมากซึ่งค่าคะแนนความรู้ และความพึงพอใจ เพิ่มขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด
ด้วยระบบทางด่วน ที่พัฒนาขึ้นสามารถลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราเสียชีวิต

 

คำสำคัญ : รูปแบบการดูแล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ระบบบริการช่องทางด่วน  

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)